การนำผลการวิจัยไปใช้ทางการพยาบาล : การจัดการกับความปวด (Pain Management)
คำสำคัญ:
การวิจัย, จัดการความปวด, หลักฐานเชิงประจักษ์, research, pain management, evidence-baseบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการอธิบายถึงการนำผลการวิจัยไปใช้ทางการพยาบาล โดยเปรียบเทียบความหมายของการนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติ (research utilization: RU) และการปฏิบัติโดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence-based practice: EBP) และผู้เขียนได้ยกตัวอย่างวิธีการการหาแนวปฏิบัติโดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวกับการจัดการกับความปวด โดยมีขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ การระบุปัญหาทางคลินิกที่ต้องการศึกษา แสวงหาวิธีการแก้ปัญหาจากประสบการณ์ทางคลินิก การตั้งประเด็นเพื่อค้นหาข้อมูล ค้นหางานวิจัยจากระบบฐานข้อมูล การวิเคราะห์ผลงานวิจัยและรวบรวมอย่างเป็นระบบ การสร้างข้อสรุปของความรู้ในภาพรวม การพิจารณาความเพียงพอของความรู้ที่มีอยู่เพื่อนำมาสร้างคู่มือ หรือมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล รวมถึงการสร้างงานวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการปฏิบัติการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นแนวทางให้พยาบาลหรือผู้สนใจได้มีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
คำสำคัญ : การวิจัย, จัดการความปวด, หลักฐานเชิงประจักษ์
Abstract
The purpose of this paper is to explain research utilization in nursing for pain management. The author compared the definitions for research utilization (RU) and evidence-based practice (EBP). The evidence-based practice method for pain management was clarified. First, nurses should know what the problem-focused triggers are, then search for the best evidence from clinical experience to solve that clinical problem. This is done by searching research databases by using keywords like clinical problem, or pain management. From the research evidence, nurses should analyze and synthesize the knowledge provided for the pain management conclusion. After that, nurses should utilize that pain management knowledge as a guideline for clinical nursing care for patients.
Keywords : research, pain management, evidence-base
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว