อัตลักษณ์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สายสวาท เผ่าพงษ์ ข้าราชการบำนาญเกษียณอายุในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • จุฑาทิพย์ ศิรินภาดล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • สิริเพ็ญโสภา จันทรสถาพร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ภิรมย์ลักษณ์ มีสัตยานันท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

บัณฑิต, อัตลักษณ์, วิชาชีพพยาบาล, graduate, identity, nursing professional

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมาได้มุ่งเน้นพัฒนาบัณฑิตให้มีอัตลักษณ์เป็นที่พึงประสงค์ของผู้ใช้บัณฑิต การวิจัยครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคคลภายในและภายนอกวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ต่ออัตลักษณ์บัณฑิตของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  นครราชสีมา  กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคคลภายนอกและภายในวิทยาลัยพยาบาลฯ จำนวน 863 คน ผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามความคิดเห็นต่ออัตลักษณ์บัณฑิต จำวน 25 ข้อ ได้มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยง(reliability)ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ .80 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย ต่อ   อัตลักษณ์บัณฑิตของวิทยาลัยพยาบาลฯ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.47, SD = .63) เมื่อพิจารณาข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน พบว่า ด้านปฏิบัติงานดี กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับมากที่สุดกับอัตลักษณ์บัณฑิตในการให้ข้อมูลแก่ผู้รับบริการอย่างถูกต้องเหมาะสม ( M = 4.51, SD = .59) ด้านความมีวินัย กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับมากว่าบัณฑิตมีความซื่อสัตย์ (M = 4.58, SD = .57) ด้านเข้าใจความเป็นมนุษย์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับมากที่สุดที่บัณฑิตมีอัตลักษณ์เคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของผู้รับบริการ (M = 4.59, SD = .58) ด้านการเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ชุมชน พบว่ากลุ่มตัวอย่างเห็นด้วยในระดับมากที่สุดกับ อัตลักษณ์บัณฑิตในการให้ความรู้คำแนะนำเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและญาติดูแลตนเองได้ (M = 4.54, SD = .56) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าอัตลักษณ์บัณฑิตดังกล่าวควรได้รับการพัฒนาให้เป็นคุณลักษณะเด่นของบัณฑิต เพื่อที่บัณฑิตจะได้เป็นที่พึงประสงค์ของผู้บังคับบัญชาและผู้ใช้บริการสุขภาพ รวมถึงนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการควบคุมคุณภาพการผลิตบัณฑิตพยาบาลให้ได้คุณภาพมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : บัณฑิต, อัตลักษณ์, วิชาชีพพยาบาล

 

Abstract

Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima has committed to produce nursing graduates to with professional identity in response to the desirable characteristics as perceived by the users. The aim of this research was to identify perceptions of stakeholders within and outside the college on the graduate’s professional identity. The study samples comprised 863 participants who were the stakeholders of the nursing program. The researcher developed research instruments including a demographic questionnaire and the questionnaire of graduate users’ perception on graduates’ identity.  Content validity was examined by three experts. The reliability of the instrument using Cronbach’s Alpha Coefficient was at .80. The findings revealed that the sample agree that the graduates possessed the characteristics outlined as the identity at high level (M = 4.47, SD = .63). The items with the highest mean scores fell in 4 categories including providing information accurately for effective working category (M = 4.51, SD = .59), honesty for discipline category (M = 4.58, SD = .57), awareness  of  clients rights  and  dignity  of  the  client for humanize category (M = 4.59, SD = .58), and advising and support both  clients  and  relatives  self  care  abilities for highest benefit for community category (M = 4.54, SD = .56). Thus, graduates characteristics should be developed inconsistent with the identity and utilized them as criteria to control higher quality of graduate production.

Keywords : graduate, identity, nursing professional

Downloads