การให้บริการปฐมภูมิของเครือข่ายบริการสุขภาพจากมุมมองผู้รับบริการ อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
บริการปฐมภูมิ, เครือข่ายบริการสุขภาพ, primary care service, health service networkบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การประเมินระบบบริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิช่วยในการพัฒนาระบบบริการที่จะตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ ดังนั้นโครงการวิจัยนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลการให้บริการปฐมภูมิของเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 395 คนที่เลือกมาโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เป็นผู้รับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิหลัก จำนวน 269 คน ผู้รับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิรอง 126 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริการของหน่วยบริการปฐมภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง 395 คน เกี่ยวกับการให้บริการของหน่วยบริการปฐมภูมิของเครือข่ายอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (M = 3.93, SD = 0.51) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างการให้บริการปฐมภูมิโดยหน่วยบริการปฐมภูมิหลักและหน่วยบริการปฐมภูมิรอง พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การเข้าถึงบริการ, ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้และ ผู้รับบริการ, ความต่อเนื่องของการบริการ, การบริการแบบบูรณาการ และการบริการที่ครบถ้วนรอบด้าน พบว่าการให้บริการปฐมภูมิโดยหน่วยบริการปฐมภูมิหลักและหน่วยบริการปฐมภูมิรองในแต่ละด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) จากผลการวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบบริการเชิงรุกในชุมชน ให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง ลดระยะเวลารอรับบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการเข้าถึงบริการได้ดียิ่งขึ้น ก่อให้เกิดระบบบริการสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : บริการปฐมภูมิ, เครือข่ายบริการสุขภาพ
Abstract
This quantitative cross-sectional survey research study was conducted to assess the performance of primary care services provided by the primary health service network at Chakarat district, Nakhonratchasima province, and to compare the quality of primary care services delivered at the main and sub-primary care units from the client’s perspectives. This study aimed at exploring the problems and ways to improve the quality of primary care services provision. The populations of this study were the patients who received care at out-patient department of Chakarat Hospital and those who received primary care at primary care units outside Chakarat Hospital. Cluster sampling technique was adopted to select 269 and 126 respondents from the main primary care units and sub-primary care units respectively. A self-administrated questionnaire asking about the opinions on the performance of primary care services was used as a data collection tool. Descriptive statistics were used to show frequency value, percentage, average value, standard deviation and t-test was performed to examine the differences in quality of the primary care services provided by the main and sub primary care units. The result showed that the total performance of primary care services delivered by the Chakarat health service network was rated by respondents as high (M = 3.93; SD = 0.51). They rated the comprehensiveness of services as the highest, while the continuity of care as the lowest. The patients perceived that the performance of primary care services provided at sub-primary care units was higher than that provided at the main-primary care units. The respondents concerned about long waiting time and they would like the providers to deliver services faster. This study suggests that health services network for providing continuity care should be developed in the community. There should also be activities improving capacity of health personnel in delivering continuous and holistic home health care. Furthermore, the health services network should have more proactive approaches to deliver care services for the community. This will reduce cost and time travelling to the health center.
Keywords : primary care service, health service network
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว