ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมกับการยอมรับและพฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาของมารดาหลังผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เอมอร บุตรอุดม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความพร้อม, การยอมรับ, พฤติกรรมในการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา, มารดาหลังผ่าตัดคลอด, readiness, acceptance, breastfeeding, behavior in caesarean section

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความสัมพันธ์  ระหว่างความพร้อม การยอมรับ และพฤติกรรมการให้นมมารดาแก่ทารกของหญิงหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลกับมารดาหลังผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ในโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น จำนวน 117 คน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมในการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีการยอมรับการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาในระดับมากที่สุดถึง ร้อยละ 95.72 และปฏิบัติตัวได้ถูกต้องระดับมากที่สุดถึง ร้อยละ 79.5 ส่วนความสัมพันธ์ ระหว่าง ความพร้อมและการยอมรับในการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาพบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .36 ) แต่เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่าง ความพร้อมกับพฤติกรรมในการเลี้ยงทารกพบว่า ความพร้อมด้านร่างกาย และจิตใจเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมในการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (r = .22 และ .23 )  ความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และการสนับสนุน นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มารดายอมรับและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา ผู้ให้บริการควรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะประเด็นปัญหาหลักที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ เช่น อาการปวดแผลหลังผ่าตัด เพื่อให้การเลี้ยงทารกด้วยนมมารดาประสบความสำเร็จ และสามารถให้นมมารดาอย่างต่อเนื่องจนถึงระยะเวลาอันควร

คำสำคัญ : ความพร้อม, การยอมรับ, พฤติกรรมในการเลี้ยงทารกด้วยนมมารดา,  มารดาหลังผ่าตัดคลอด

 

Abstract

This research is a descriptive study. The purpose of this study is to research any correlation between the readiness of and acceptance for breastfeeding, with appropriate breastfeeding behaviors of caesarean section mothers. The sample was purposively selected, from 117 mothers who were post operation from 1-3 days at Khon Kaen Hospital and Health Promoting Hospital, Khon Kaen Province. This research is a correlation descriptive study. The acceptance of breastfeeding in caesarean section mothers was  at a high level at 95.72%. Appropriate breastfeeding behavior in caesarean section mothers was also at a high level at 79.5%. The results showed that physical and mental readiness was at a high level in those instances. The correlation between readiness and caesarean section mothers ability to successfully breastfeed were statistically significant (r = .36 , p< .01). The physical and mental readiness and appropriate breastfeeding behavior in caesarean section mothers were statistically significant (r = .22 and .23 respectively p< .05) as well. According to the results, physical and mental readiness were an importance factor for improving an acceptance of and appropriate breastfeeding behaviors in caesarean section mothers. These results can be used to train official or related health services professionals, to realize the importance of readiness and some possible problems (post operational pain) that can affect a mother’s ability to successfully breastfeed.

Keywords : readiness, acceptance, breastfeeding,  behavior in caesarean section

Downloads