ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการทำงานบริการสุขภาพกับผลสัมฤทธิ์ของการศึกษาของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศกุนตลา อนุเรือง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการด้านการสอน สำนักพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา
  • ลออวรรณ อึ้งสกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ภาควิชาการพยาบาล 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • วิภาวี พลแก้ว พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ภาควิชาการพยาบาลเด็ก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

บริการสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล, ผลสัมฤทธิ์การศึกษา, health service, learning achievement, nursing student

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการทำงานบริการสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการทำงานบริการสุขภาพศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาล ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2-4 ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา จำนวน 568 คน กลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาดโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 80.00 สุ่มแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 454 คน แบ่งข้อมูลเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป เกรดเฉลี่ยสะสม และทัศนคติต่อการทำงานบริการสุขภาพ โดยใช้แบบสอบถามทัศนคติต่อการทำงานบริการสุขภาพที่สถาบันพระบรมราชชนกสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลหา ความถี่ จำนวน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแคว์ (Chi-square) ผลการวิจัยพบว่า

1. ทัศนคติต่อการทำงานบริการสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2, 3 และ 4 ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ทุกชั้นปี

2. ทัศนคติต่อการทำงานบริการสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยคะแนนทัศนคติต่อการทำงานบริการสุขภาพอยู่ในระดับสูง (47.60) แต่นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 และ3 มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (43.74 และ 43.65 ตามลำดับ)

3. ทัศนคติ ต่อการทำงานบริการสุขภาพ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05)

คำสำคัญ : บริการสุขภาพ, นักศึกษาพยาบาล, ผลสัมฤทธิ์การศึกษา

 

Abstract

This descriptive study aimed at examining nursing students’ attitude toward health service and the relationship between the attitude and learning achievement. The stratified random sampling technique was used to recruit 454 from 568 students in the second, third and fourth years in academic year 2008 at Boromarajonani College of Nursing Nakhonratchasima. Data were collected using the questionnaire, developed by Praboromarajchanok Institute, including two parts: 1) personal information and learning achievement (GPA) and 2) attitude toward health service. The personal information and health service attitude data were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. The relationship between attitude toward health service and learning achievement was analyzed by Chi-square. The results were as follows:

1. The levels of attitude toward health service of the majority of the students in Years 2, 3, and 4 were high.

2. The mean score of attitude toward health service of the forth year nursing students was at a high level and higher than those of the nursing students in the third and second years which were at moderate level.

3. There was no statistically significant relationship between attitude toward health service and learning achievement (p > .05).

Keywords : health service, learning achievement, nursing student

Downloads