ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างความรู้ สร้างแนวทางการพัฒนา และสร้างแนวทางปฏิบัติ (AIC) ต่อความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • กันนิษฐา มาเห็ม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • พัฒนี ศรีโอษฐ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

คำสำคัญ:

กระบวนการสร้างความรู้, สร้างแนวทางการพัฒนา, ความรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ, appreciation Influence Control process, AIC, knowledge, behavior, self-care of older people

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ผลของการประยุกต์ใช้ กระบวนการสร้างความรู้ สร้างแนวทางการพัฒนา  และสร้างแนวทางปฏิบัติ (AIC) ต่อความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในเขตตำบลบ้านเป็ด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 30 คน ที่ได้จากการเลือกแบบ เจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่างได้รับความรู้และแนวทางการปฏิบัติตัวจากการประยุกต์ใช้กระบวนการAIC ในการประชุมแบบมีส่วนร่วม จำนวน 1 ครั้งเป็นระยะเวลา  2 วัน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองก่อนและหลังการทดลอง  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ย Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเอง สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นอกจากนี้ผู้สูงอายุให้ความ สำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจเฉพาะตน ครอบครัว และภาวะสุขภาพในวัยเสื่อมตามลำดับ ดังนั้นการให้ความรู้โดยการประยุกต์ใช้กระบวนการAIC ที่มีการปรับความเข้าใจ ให้ความรู้เพิ่มเติม จึงทำให้ประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างให้เกิดความรู้ และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุ  AIC จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ในการให้ความรู้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ  กลุ่มใกล้วัยสูงอายุเพื่อเตรียมความพร้อม และกลุ่มเสี่ยงอื่นๆเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และคุณภาพงานบริการสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญ : กระบวนการสร้างความรู้, สร้างแนวทางการพัฒนา, ความรู้,  พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ

 

Abstract

This quasi-experimental study was designed to determine the effectiveness of the application of the Appreciation Influence Control process (AIC) on knowledge and self-care behaviors of older people. The participants were the older people, over 60 years old, living in Banped Sub-district, Muang District, Khon kaen Province. Thirty older people were recruited to participate in the study voluntarily by a purposive sampling technique. The AIC program was implemented by setting up a two day seminar. Data concerning each individual’s knowledge and self-care behaviors were collected using questionnaires at pre- and post-experiment. The data were analyzed using t-test. The results showed that knowledge and self-care behavior scores of older people who attended the AIC program at post-experiment were significantly higher than those of the pre-experiment (p< .001). Furthermore, specific topics that the older people and their families paid attention to were: 1) individual or family economy due to their low income, 2) their health status in the degeneration and personal illness. In conclusion, application of the AIC process in the education program was effective to increase health knowledge and self-care behaviors of older people. Thus, AIC program should be recommended for brain storming and participation of the older people in order to effectively promote knowledge, problems solving, and quality of life of the older people as well as preparing those who are getting into an aging group. In addition, AIC can promote sustainable and effective health care practice.

Keywords : appreciation Influence Control process, AIC, knowledge, behavior, self-care of older people

Downloads