ภาวะสุขภาพของชาวต่างชาติ: กรณีศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

ผู้แต่ง

  • วิไลพร ขำวงษ์ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • กมลรัตน์ เทอร์เนอร์ ผู้อำนวยการ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมาและ Adjunct Associate Professor, Edith Cowan University, Australia
  • สุนันทา ทองพัฒน์ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
  • ศุภาพิชญ์ โฟน โบร์แมนน์ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
  • สุวลี มิลินทางกูร พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการพิเศษ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพ, ชาวต่างชาติ, health status, foreigner

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ความเท่าเทียมกันในการได้รับการดูแลสุขภาพเป็นประเด็นที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญมาตลอด ผู้ให้บริการสุขภาพจึงควรออกแบบการบริการสุขภาพที่เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่ม รวมทั้งชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แต่เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวมีค่อนข้างน้อย  ผู้วิจัยจึงได้ทำวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ประชากรที่ศึกษาเป็นชาวต่างชาติที่ทำงานและกำลังศึกษาอยู่ ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการที่คณะผู้วิจัยจัดขึ้น จำนวน 102 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบบันทึกข้อมูลทางสุขภาพ 3) แบบสอบถามภาวะสุขภาพทั่วไปฉบับย่อ และ 4) แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมีภาวะสุขภาพปกติ โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยของภาวะสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ (M = 3.0, SD = 4.83) และเมื่อจำแนกตามรายด้าน พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยของด้านอาการทางกาย (M = 1.01, SD = 1.41) อาการวิตกกังวลและการนอนไม่หลับ (M = .77, SD = 1.22) ความบกพร่องทางสังคม (M = .69, SD = 1.19) และอาการซึมเศร้าที่รุนแรง (M = .53, SD = 1.01) อยู่ในระดับต่ำทุกด้าน แต่อย่างไรก็ตาม มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากที่มีภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพโดยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเพศชายมีค่า BMI มากกว่า 25 คิดเป็นร้อยละ 44.2 เพศหญิงมีค่า BMI มากกว่า 24 คิดเป็นร้อยละ 37.9 มีค่าความดันโลหิตมากกว่า 140/90 mmHg คิดเป็นร้อยละ 13.9 มีค่าระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 110 mg%  คิดเป็นร้อยละ 28.54 นอกจากนี้ยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานภายใน 5 ปี ในระดับปานกลาง ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนให้บริการสุขภาพที่ตรงกับความต้องการของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เพื่อให้ชาวต่างชาติมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

คำสำคัญ : ภาวะสุขภาพ, ชาวต่างชาติ

 

Abstract

The equity in health care access has always been one of the crucial issues valued by the World Health Organization. It is, thus, essential for health personnel to design appropriate health services for people in all groups including foreigners living in Thailand. However, data regarding health status in this group is quite rare. This descriptive study was, therefore, conducted to investigate health status of those foreigners. The sample was composed of 102 university staffs and students at Asian Institute of Technology (AIT) participating the academic health service provided by the researcher team. Research tools included: 1) demographic questionnaire; 2) health status questionnaire; 3) General Health Questionnaire (GHQ-28); and 4) the Australian Type 2 Diabetes Risk Assessment Tool (AUSDRISK). Data were analyzed using percentage, mean and standard deviation.

The results revealed that the overall mean score of GHQ was in low level (M = 3.0, SD = 4.83) which means the samples had normal health status. Considering each aspect, it was found that the mean scores of somatic symptoms (M = 1.01, SD = 1.41), anxiety and insomnia (M = .77, SD = 1.22), social dysfunction      (M = .69, SD = 1.19) and severe depression (M = .53, SD = 1.01) were in low level. However, a large number of sample was at risks for health. It was found that 44.2% of male samples had BMI > 25 and 37.9% of female samples had BMI >24. Moreover, 13.9% and 28.5% of samples had blood pressure > 140/90 mmHg and blood sugar level > 110 mg%, respectively. In addition, a majority of sample had moderate risk to have diabetes in five years. This study has offered baseline information for relevant health providers to design appropriate services for foreigners who live in Thailand. Health services that meet the need of foreigners could promote their good health and better quality of life.

Keywords : health status, foreigner

Downloads