เหลียวหลังแลหน้างานวิจัยทางการพยาบาลผดุงครรภ์
คำสำคัญ:
การวิจัยทางการพยาบาลผดุงครรภ์, การวิจัยในอนาคต, future research, research in midwiferyบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงอย่างมากด้านปัญหาและระบบการดูแลสุขภาพ ลักษณะของผู้ใช้บริการ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี รวมทั้งการเกิดโลกาภิวัฒน์ ทำให้พยาบาลผดุงครรภ์ต้องใช้หลักฐานเชิงประจักษ์จากการวิจัยมาพัฒนาการให้บริการมากขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงเพื่อเสนอผลการทบทวนวรรณกรรมทางการผดุงครรภ์ในอดีต แล้วสรุปเป็นแนวโน้มในการพัฒนาการวิจัยทางการผดุงครรภ์ในอนาคต ผลการทบทวนพบว่า ในอดีตนั้นการออกแบบงานวิจัยส่วนมากเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เช่น การวิจัยเป็นเชิงบรรยาย การสำรวจ หรือการวิจัยเชิงทดลอง โดยเน้นที่การดูแลในระยะคลอด ระยะตั้งครรภ์และระยะหลังคลอด ตามลำดับ ส่วนการดูแลในช่วงก่อนการตั้งครรภ์และหลังภาวะเจริญพันธุ์มีน้อยมาก จากการที่สังคมมีความซับซ้อนมากขึ้นการวิจัยในอนาคตควรเปลี่ยนจากการวิจัยเชิงปริมาณไปสู่การวิจัยเชิงคุณภาพให้มากขึ้น แต่ยังคงให้ความสำคัญของการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมและมีการสุ่มตัวอย่าง เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการดูแลแบบต่างๆ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ควรมีขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนหัวข้อในการทำวิจัยที่ยังคงมีความจำเป็น คือ การศึกษาเกี่ยวกับการติดเชื้อ HIV และการรักษาทางเลือก การค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการจัดการและการดูแลทางการพยาบาลผดุงครรภ์ ค่าใช้จ่ายในการดูแลทางการพยาบาลผดุงครรภ์ การปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และการปฏิบัติการโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการดูแลทางการผดุงครรภ์ โดยควรเพิ่มการศึกษาวิจัยในช่วงก่อนตั้งครรภ์ให้มากขึ้น
คำสำคัญ : การวิจัยทางการพยาบาลผดุงครรภ์, การวิจัยในอนาคต
Abstract
Dramatic changes in health problems, health care delivery system, client demographics, an explosion of technology, and globalization have increased the use of scientific evidence in the provision of care in midwifery. The aim of this article is to identify a future vision for midwifery research based on literature reviews in midwifery research. Results have shown that the majority of research designs in the past were quantitative approaches such as descriptive, survey, or experimental studies. Most of the studies focused on intrapartum, antenatal, and postpartum periods respectively. Preconception and post reproductive stages got much less attention. Due to a constant increase in complexity of the society, future research designs should be shifted to qualitative or mixed methods. However, randomized controlled trial is still important to evaluate effectiveness of midwifery interventions; and larger subjects are recommended. Topics, needed to be explored, are HIV and complementary therapies, development of advance technology to improve midwifery management and care, cost of midwifery care, collaborative practices, and evident based-practices. Encouraged research area is preconception stage.
Keywords : future research, research in midwifery
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว