ผลของโปรแกรมการปรับระบบการดําเนินชีวิตโดยการตั้งเป้าหมายและประสบการณ์ใหม่ในผู้ใหญ่ไทยหลังจากภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว

ผู้แต่ง

  • ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง
  • เขมารดี มาสิงบุญ

คำสำคัญ:

โปรแกรมการปรับระบบการดำเนินชีวิตโดยการตั้งเป้าหมายและประสบการณ์ใหม่, ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว, พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง, ความดันโลหิต, The SystemCHANGETM-TIA program, TIA patients, Stroke Risk Behaviors, Blood Pressure

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสุ่มและมีการควบคุม (Randomized Controlled Trial, RCT)วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับระบบการดำเนินชีวิตโดยการตั้งเป้าหมายและประสบการณ์ใหม่ต่อพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และระดับความดันโลหิตในผู้ใหญ่ไทยหลังเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว กลุ่มตัวอย่างมี 42 ราย ที่เป็นผู้ป่วยหลังเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวรักษาที่โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี โดยการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง (21 ราย) และกลุ่มควบคุม (21 ราย) กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรมจำนวน 4 ครั้ง และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติจากโรงพยาบาล เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง แบบสอบถามความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยหลังภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว และเครื่องวัดความดันโลหิต รุ่น OMRON HEM-7203 มีการประเมินก่อนและการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired t-test และ Independent t-test

         ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง และระดับความดันโลหิตแตกต่างกับกลุ่มควบคุมหลังการทดลองอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้ คือ การนำโปรแกรมสามารถไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยหลังภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวในชุมชน เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่ต่อไป

 

คำสำคัญ: โปรแกรมการปรับระบบการดำเนินชีวิตโดยการตั้งเป้าหมายและประสบการณ์ใหม่  ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว  พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง  ความดันโลหิต

 

The effect of a System CHANGETM-TIA program in Thai adults following

Transient Ischemic Attack

 

Panisara Songwatthaanyuth, Ph.D. (Nursing Science)*

Supaporn Dauangpeang, D.N.S.**

Khemaradee Masingboon, D.S.N.***

 

Abstract

               This randomized controlled trial aimed to study the effects of the SystemCHANGETM-TIA program on stroke risk behaviors, and blood pressure in Thai adults following transient ischemic attack (TIA).  The sample consisted of 42 TIA patients who received treatment at Neurological Out Patient Department, Prachomklao Hospital, Phetchaburi province. The participants were then randomly assigned into the experimental group (21sample)and the control group (21sample). The experimentalgroup participated in four sessions. The control group received routine care only. The outcomes were evaluated by a modified stroke risk behaviors scale, and automated sphygmomanometer OMRON HEM-7203. The control group received routine care only. The stroke risk behaviors, systolic blood pressure, and diastolic blood pressure were obtained at baseline, weeks 6 and 12. Data were analyzed by descriptive statistics,paired t-test, andindependent t-test.

               Findings revealed that the mean scores stroke risk behaviors, and blood pressure in the System CHANGETM-TIA group were significantly different from the control group (p <.05). The study findings suggest that this program can be applied to the community in order to prevent new stroke patients in the future.

 

Keywords: The SystemCHANGETM-TIA program, TIA patients, Stroke Risk Behaviors, Blood Pressure

Downloads