การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพาในการทํากิจวัตรประจําวัน

ผู้แต่ง

  • พิมพวรรณ เรืองพุทธ
  • วรัญญา จิตรบรรทัด

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, ชุมชน, ผู้สูงอายุ, ความต้องการการพึ่งพาในการทำกิจวัตรประจำวัน, Community, Participation, Dependence, Older adults,

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพาในการทำกิจวัตรประจำวัน ในตำบลนาเคียน อ.เมือง                           จ.นครศรีธรรมราช มีผู้เข้าร่วมวิจัย จำนวน 57 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 43 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการพึ่งพาในการทำกิจวัตรประจำวัน จำนวน 10 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 3 คน และนักพัฒนาสังคม 1 คน กระบวนการวิจัยอาศัยความร่วมมือประสานกันระหว่างผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัยแบบเป็นหุ้นส่วน (mutual collaborative approach) โดยกระบวนการมีส่วนร่วมในการดูแลตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมกระทำกิจกรรมและร่วมประเมินผล ในระหว่างเดือนมกราคมถึงธันวาคม 2557 เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม บันทึกภาพการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการพึ่งพา วิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัยและจำแนกชนิดของข้อมูล

             ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพาในการทำกิจวัตรประจำวัน มีปัจจัยหลักของการมีส่วนร่วม คือ 1) การช่วยเหลือและสนับสนุนซึ่งกันและกัน 2) การเรียนรู้จากการกระทำในการแก้ไขปัญหา 3) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแล และ4) การสืบทอดการดูแลต่อเยาวชนรุ่นใหม่ ลักษณะของชุมชนที่ช่วยสนับสนุนการมีส่วนร่วม คือความเข้มแข็งชุมชนการมีผู้นำชุมชนที่เก่งและการมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนในชุมชน นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพาในการทำกิจวัตรประจำวัน ส่วนสาเหตุของการไม่มีส่วนร่วมของชุมชนได้แก่ 1) การขาดแหล่งข้อมูลเพื่อการรับรู้ของคนในชุมชน และ 2) การขาดการกระตุ้นติดตาม

             จากการดำเนินการวิจัยดังกล่าว เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ในการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการการพึ่งพาในการทำกิจวัตรประจำวันผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรดำเนินการคือ 1) การเตรียมผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุ 2) การจัดตั้งระบบการดูแลผู้สูงอายุ 3) การสนับสนุนงบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุ และ 4) การจัดทำหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน       

 

คำสำคัญ: การมีส่วนร่วม  ชุมชน   ผู้สูงอายุ  ความต้องการการพึ่งพาในการทำกิจวัตรประจำวัน

 

Community Participation toward Health Care among Dependent Older Adults

 

Pimpawan Rueangphut M.N.S*

Waranya Jidbantad M.Sc.**

 

Abstract

              The older adult population in Thailand is increasing rapidly. Support from the community is even more important for older adult patients to maintain their home-based life, particularly for those with extensive care needs and family caregivers are engaged in providing care almost all day long. The purpose of this research is to explore the community participation toward health care among dependent older adults in Nakean district, Maung, Nakhon Si Thammarat, Thailand. Fifty seven volunteers from this community were selected after meeting certain criterion. Participants comprised 43 village health care volunteers, 10 caregivers, 3 community health care officers and 1 social development worker. The process was based on participation in thinking, planning, acting and evaluating elderly illnesses pattern. The study was implemented between January and December 2014. Data was collected by means of in-depth interviews, observation of focus group discussion, writing field notes, taking photographs and participating with dependent older adultsin community. Data analysis was carried out through mean of induction and typological analysis.

               The finding revealed that there were generally 4 types of processes in older adultscare . They are: 1) helping and supporting each other. 2) learningto cope with appropriate problem. 3) exchanging experience in caring. 4)maintaining culture of caring. The supportive community was characterised by strong community support, strong leadership and friendliness among people in the village, public health and local organization. The reasons for non-participation in dependent older adults care in this community were 1) insufficient source toward caring to older adults information. 2) lack of stimuli and follow up care.

                To go on the processfordependent older adultswould involve; 1) preparingcaregivers to care for dependent older adults, 2) establishing health care system, 3) allocation of budget for caring dependent older adults, and 4) creating curriculum for health volunteers to care for dependentolder adults.

 

Keywords:  Community, Participation, Dependence, Older adults

Downloads