การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานบนฐานของการวิจัยที่สร้างเสริมสมรรถนะด้านการวิจัยของนิสิตพยาบาล
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอน, สมรรถนะด้านการวิจัย, รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานฐานของการวิจัย, Instructional Model, blended learning, research-based learning, research competencyบทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานบนฐานของการวิจัย
ที่สร้างเสริมสมรรถนะด้านการวิจัยของนิสิตพยาบาล
รุจิระชัย เมืองแก้ว พย.ม.*
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ ค.ด.**
ชำนาญ ปาณาวงษ์ กศ.ด.***
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานบนฐานของการวิจัยที่สร้างเสริมสมรรถนะด้านการวิจัยของนิสิตพยาบาล โดยดำเนินการ 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการเรียนการสอน ตอนที่ 3 ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนกับนิสิตพยาบาลจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) และตอนที่ 4 ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความต้องการจำเป็นที่ควรพัฒนานิสิตพยาบาล คือ ความรู้ในการพยาบาล ความรู้ในกระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการวิจัย การจัดการความรู้ การประเมินผลงานวิจัย การใช้ประโยชน์จากความรู้เชิงประจักษ์ในการปฏิบัติงาน การเผยแพร่ความรู้ และแนวทางการพัฒนาที่ควรพัฒนานิสิตพยาบาล คือ การใช้การเรียนการสอนแบบผสมผสานทั้งการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนแบบออนไลน์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานในการเรียนรู้ร่วมกันของนิสิตพยาบาล 2) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมี 6 องค์ประกอบ คือ ทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐานของรูปแบบ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล 3) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า นิสิตพยาบาลมีความรู้ในการพยาบาลหลังเรียนสูงกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (M=29.60 คะแนนเต็ม 40 คะแนน) นิสิตพยาบาลมีความรู้ในการวิจัยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (M=27.73 และ 22.53 ตามลำดับ) และ 4) รูปแบบการเรียนการสอนสามารถใช้พัฒนาสมรรถนะการวิจัยของนิสิตพยาบาลในด้านความรู้ในการพยาบาล และด้านความรู้ในการวิจัย และควรปรับปรุงในด้านการจัดเวลาเรียนและระบบการเรียนแบบออนไลน์ให้สมบูรณ์ขึ้น
คำสำคัญ: รูปแบบการเรียนการสอน สมรรถนะด้านการวิจัย รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานฐานของการวิจัย
The Development of Blended Learning Instructional Model Based on Research-Based Learning Approach to Enhance Research Competency of Nursing Students
RujirachaiMuangkaew M.N.S.*
ChaiwatSutthirat Ph.D.**
ChamnanPanawong Ph.D.***
Abstract
The objectives of this research was to develop an instructional model through the use of blended learning instructional model based on research-based learning in order to enhance research competency ability of nursing students. This study was a research and development study with procedures following 4 phases; Phase 1: Studying the need assessment and basic data. Phase 2: Constructing the instructional model. Phase 3: Studying the results from the Quasi-experimental instructional model, with a sample of 30 nursing students from cluster sampling. Phase 4: Evaluating the instructional model. Statistics used for data analysis were mean, standard deviation, one sample t-test and content analysis.
The research results were as follows: 1) The assessment and basic data for developing the instructional model included nursing content, research process, evidence based nursing ,presentation and developing process are components of the blended learning instructional model , research-based learning and collaborative learning. 2) The developed instructional model consisted of six components 3) The nursing content was higher than 70% significant difference at the .05 level (M=29.60 from 40) and abilities to research competency of nursing students after being taught by the instructional model were higher than before significant difference at the .05 level (M=27.73, 22.53 respectively) and 4) The instructional model can develop nursing content and abilities to research competency.
Keywords: Instructional Model, blended learning, research-based learning, research competency
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว