การพัฒนาโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล: การวิจัยนําร่อง

ผู้แต่ง

  • จันทร์ทิรา เจียรณัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, โปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล, คุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล, Development, Nursing documentation program, Quality of nursing documentation

บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

                วัตถุประสงค์: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล 2) ศึกษาความสามารถของโปรแกรมบันทึกทางการพยาบาลต่อคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล 3) ศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อโปรแกรมฯ และ 4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของพยาบาลวิชาชีพต่อการนำโปรแกรม ฯ มาใช้ในการบันทึกทางการพยาบาล  วิธีการศึกษา: ขั้นตอนในการวิจัย มี 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1) ขั้นพัฒนาโปรแกรมฯ ผู้วิจัยจัดประชุมปรึกษาร่วมกับฝ่ายการพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสุรินทร์ เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์และขอความร่วมมือในการพัฒนาการบันทึกทางการพยาบาล จากนั้นทำการออกแบบโปรแกรมฯ  นำเสนอร่างโปรแกรมฯ ให้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลวิพากษ์เพื่อการพัฒนาและนำผลการวิพากษ์ไปปรับปรุง  ขั้นที่ 2) ขั้นทดลองใช้โปรแกรมฯ โดยผู้วิจัยทดลองนำข้อมูลผู้ป่วย 1 ราย มาทำการบันทึกในโปรแกรมฯ  และนำเสนอต่อที่ประชุมของพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาล จากนั้นเป็นการประเมินผลการทดลองใช้โปรแกรมฯ โดยผู้วิจัยสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลเกี่ยวกับคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลและความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 16 คน โดยมีคุณสมบัติดังนี้ 1) เป็นพยาบาลวิชาชีพ 2) มีประสบการณ์การพยาบาลอย่างน้อย 1 ปี และ 3) ยินดีเข้าร่วมการวิจัย  แบบสอบถามที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบตรวจสอบคุณภาพการบันทึกฯ ที่ประเมินความสามารถของโปรแกรมในการบันทึกฯ 4 ด้าน ได้แก่ การประเมินผู้ป่วยแรกรับ การวางแผนการพยาบาล การบันทึกกิจกรรมการพยาบาล และการสรุปจำน่ายผู้ป่วย (ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74) 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อโปรแกรมฯ ซึ่งเป็นแบบวัดแบบมาตราประมาณค่า (1 = พึงพอใจน้อยที่สุด 5 =  พึงพอใจมากที่สุด) (ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82) และ 4) แนวคำถามการสนทนากลุ่ม (Focus group)  เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อโปรแกรมฯ  การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง ความพึงพอใจฯ และคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล โดยใช้ใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลปัญหาและอุปสรรคในการใช้โปรแกรมฯ ที่ได้จากการสนทนากลุ่ม นำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)        ผลการศึกษา:  ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าเมื่อนำโปรแกรมฯ ไปใช้จะทำให้คุณภาพโดยรวมของบันทึกอยู่ในระดับดีมาก (M= 60.25, S.D. = 3.87) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อโปรแกรมฯ ในระดับมาก (M= 39.94, S.D. = 5.51) และ กลุ่มตัวอย่างจำแนกปัญหาและอุปสรรคในการใช้โปรแกรมฯ ออกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้ 1) ด้านทรัพยากรพื้นฐานที่จำเป็น 2) ด้านบุคลากร 3) ด้านนโยบายของผู้บริหาร และ 4) ด้านโปรแกรมฯ   สรุป: โปรแกรมฯ สามารถเพิ่มคุณภาพการบันทึกทางการพยาบาลได้ พยาบาลมีความพึงพอใจ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคต่อการนำโปรแกรมฯ มาใช้ในการบันทึกทางการพยาบาล

 

คำสำคัญ: การพัฒนา, โปรแกรมบันทึกทางการพยาบาล, คุณภาพการบันทึกทางการพยาบาล

 

Development of a Nursing Documentation Program: A Pilot Study

ChantiraChiaranai, RN., Ph.D.*

Abstract

                     Objectives: This research and development study aimed to 1) develop a nursing documentation program (NDP), 2) examine the capability of the NDP on the quality of nursing documentation, 3) evaluate nurses’ satisfaction on the NDP, and 4) discover problems of applying NDP. Methods: This study composed of 2 phases. They were 1) a program development phase, this phase the researcher conducted a meeting with chief nurse executive (CNE) at one hospital, Surin province to explain the purposes of the study and gain a cooperation of study. Upon the agreement to participate the study, the researcher then outlined the program architecture and presented to the CNE and committee. NDP was critiqued and corrected its potential weak points and 2) Program trial: Researcher demonstrated entering patient’s data .Upon the completion of data entry, 16 RNs who then were asked to complete the questionnaires to evaluate the capability of the NDP on the quality of nursing documentation and their satisfaction on the NDP.The sample of this study were purposely selected from RNs in that hospital. Inclusion criteria were 1) working as an RN, 2) have at least 1 year of experience in Nursing, and 3) willing to participate the study. Research instruments composed of 1) a demographic data form, 2) the quality checking that evaluate the quality of NDP in 4 dimensions---admission, nursing care plan, nursing interventions, and discharge planning (α = 0.74), 3) satisfaction questionnaire on NDP (Likert scale, 1 = least satisfy, 5 = most satisfy) (α = 0.82), and 4) an interview guideline for focus group. Focus group was employed to gather information regarding to the problems of applying NDP. Data were analyzed using descriptive statistics and content analysis. Results:  RNs had attitude toward NDP that if it was to use in nursing documentation, the quality of the documentation would be at an excellent level (mean= 60.25, S.D. = 3.87). Overall, RNs satisfied with the NDP at a good level (mean= 39.94, S.D. = 5.51). Information regarding problems of applying NDP were categorized into 4 themes included: 1) problems regarding infrastructure, 2) problems regarding personnel, 3) problems regarding policy, and 4) problems regarding program itself. Conclusion: NDP is a program that had the potential in improving the quality of nursing documentation. In addition, RNs were very satisfied with NDP and provided feedback regarding problems of using NDP.

 

Keywords: Development, Nursing documentation program, Quality of nursing documentation

Downloads