ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล็ก อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
มะเร็งปากมดลูก, ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค, แรงสนับสนุนทางสังคม, Cervical Cancer, Motivation Theory for Disease Prevention, Social Supportบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรม การมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลหนองเหล็ก อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 40 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรม โดยประยุกต์จากทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคและแรงสนับสนุนทาง สังคม กิจกรรมประกอบด้วย การบรรยาย การเสนอตัวแบบ การอภิปรายกลุ่ม การติดตามเยี่ยมบ้านกระตุ้น เตือนโดยอาสาสมัครสาธารณสุข ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ เล็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความ แตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้วยสถิติเชิงอนุมาน Paired f-test และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านการรับรู้ความรุนแรง การรับ รู้โอกาสเสี่ยง ความคาดหวังในประสิทธิผลการตอบสนองและความคาดหวังในความสามารถของตนเอง ต่อการป้องคันมะเร็งปากมดลูก สูงกว่าค่อนทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (pc.001) เมื่อเปรียบเทียบผลต่างคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า มีความแตก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (pc.001) และสตรีกลุ่มทดลองมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทุกคน (ร้อยละ 100)
ผลจากการวิจัย เป็นข้อเสนอแนะให้บุคลากรที่ทำงานส่งเสริมสุขภาพประชาชน สามารถนำรูปแบบ การจัดกิจกรรมไปใช้ โดยการให้ข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือ และใช้เคเอข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขเข้ามามี ส่วนร่วมโดยการเยี่ยมบ้านตามโปรแกรมนี้
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว