บทบาทของพยาบาลพี่เลี้ยงการอบรมขัดเกลาทางสังคมและการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ
คำสำคัญ:
บทบาทของพยาบาลพี่เลี้ยง, การอบรมขัดเกลาทางสังคม, การจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ, Role of nurse preceptor, Socialization, Learning management in practiceบทคัดย่อ
การอบรมขัดเกลาทางสังคม (Socialization) เป็นกระบวนการทางสังคมและจิตวิทยาที่ทำให้บุคคล ในสังคมเกิดการเรียนรู้ระเบียบ กฎเกณฑ์ ความประพฤติและค่านิยมต่างๆ ร่วมกัน มีผลให้บุคคลนั้นๆ มี บุคลิกภาพตามที่สังคมต้องการ และอยู่ร่วมกันในสังคมไต้อย่างราบรื่นโดยมีแนวคิดสำคัญ 3 ประการคือ 1) เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมระหว่างคนรุ่นหนึ่งกับคนอีกรุ่นหนึ่ง (Socializationas enculturation) 2) เป็น กระบวนการควบคุมแรงดลใจส่วนบุคคล (Impulse control) และ 3) เป็นการเตรียมบุคคลเพื่อเข้ารับบทบาท ต่างๆ ในสังคม (Role training) ซึ่งเมื่อเชื่อมโยงกับการเรียนการสอนภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล การ อบรมขัดเกลาทางสังคม จะช่วยให้นักศึกษาพยาบาลเกิดการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีคุณลักษณะ มีบุคลิกภาพ ที่เหมาะสม สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกันในสังคมของวิชาชีพไต้เป็นอย่างดี ตังนั้น การบูรณาการการอบรม ขัดเกลาทางสังคมในการจัดการเรียนการสอนนักศึกษาพยาบาลภาคปฏิบัติภายใต้กรอบแนวคิดของคำว่า “PRECEPTOR” จะช่วยให้เห็นบทบาทของ “พยาบาลพี่เลี้ยง” ดังนี้ P = บทบาทในการเป็นนักปฏิบัติการพยาบาล (Practitioner)
R = บทบาทในการเป็นแบบอย่าง (Role model) ของพยาบาลที่ดี
E = บทบาทในการเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empower) แค่ผู้เรียน
C = บทบาทในการเป็นผู้ให้คำปรึกษา (Counselor) และการมีความเอื้ออาทร (Caring)
E = บทบาทในการตรวจสอบประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluation)
P = บทบาทในการสนับสนุน (Promotion) ให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง T =บทบาทในการเป็นผู้สอน (Teacher)
0 =บทบาทการเป็นผู้มีใจกว้าง (Open mind)
R =บทบาทในการเป็นนักวิจัย (Researcher)
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว