การสำรวจการปนเปื้อนเชื้อปรสิตและการลดเชื้อปรสิตในผักสด ที่จำหน่ายในตลาดสด จังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การปนเปื้อนเชื้อปรสิต, วิธีการล้างผัก, ผักสด, ตลาดสดบทคัดย่อ
ผลผลิตการเกษตรที่จำหน่ายอยู่ในตลาดทั่วไปขณะนี้ยังคงพบว่ามีการปนเปื้อนเชื้อปรสิตการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการปนเปื้อนเชื้อปรสิตในผักสดที่จำหน่ายในตลาดสด อำเภอเมือง จังหวัดเลย และทดสอบวิธีการล้างผักในการลดการปนเปื้อนเชื้อปรสิตในผักสด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผักสด จำนวน 96 ตัวอย่าง จากผัก 8 ชนิด ได้แก่ สะระแหน่ โหระพา ขึ้นฉ่าย รากขึ้นฉ่าย ต้นหอม ผักชี รากผักชี และผักกาดหอม ตรวจด้วยวิธีการตกตะกอน (Sedimentation technique) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการล้างผักโดยใช้สถิติ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ตัวอย่างผักสดทั้งหมดมีการปนเปื้อนเชื้อปรสิต ร้อยละ 64.58 โดยผักสดที่พบการปนเปื้อนสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ โหระพา สะระแหน่ และผักกาดหอม ร้อยละ 100, 100 และ 66.67 ตามลำดับ เชื้อปรสิตที่พบปนเปื้อนมากที่สุดคือ ไข่พยาธิไส้เดือนกลม ร้อยละ 59.38 รองลงมาคือ ไข่พยาธิตัวตืด ร้อยละ 8.33 ตัวอ่อนพยาธิสตรองจิลอยดิส ร้อยละ 6.25 ตัวอ่อนพยาธิไม่ระบุชนิด ร้อยละ 5.21 ไข่พยาธิปากขอ ร้อยละ 1.04 และไม่พบเชื้อโปรโตซัว สำหรับวิธีการล้างผัก 5 วิธี สามารถลดการปนเปื้อนเชื้อปรสิตได้เมื่อเทียบกับการไม่ล้าง โดยวิธีการล้างแบบแช่น้ำส้มสายชู น้ำเกลือ น้ำเบกกิ้งโซดา น้ำเปล่า และน้ำยาล้างผัก สามารถลดจำนวนเชื้อปรสิตได้แตกต่างจากวิธีการแช่น้ำเปล่า และการไม่ล้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดทำสื่อให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อปรสิตในผักสดและแนะนำการล้างผักให้สะอาดก่อนการบริโภค
References
ขันทอง เพ็ชรนอก และกนกวรรณ ตุ้นสกุล. (2563). สำรวจการปนเปื้อนพยาธิในผักสดและผลไม้สดจากตลาดสด 5 ภูมิภาคของประเทศไทย. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 62(4), 372-383. [สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/248235
จริยา ศรีพนมพงษ์, มธุรส ทิพยมงคลกุล, องอาจ มหิทธิกร และวรากร โกศัยเสวี. (2564). การปนเปื้อน Giardia duodenalis ในผักสดจากตลาดค้าส่งแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 51(3), 276-283. [สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/jph/article/view/250050
ทนงพันธ์ สัจจปาละ, กนกวรรณ ตุ้นสกุล และขันทอง เพ็ชรนอก. (2558). ผลกระทบของการล้างผักซึ่งบริโภคดิบเพื่อลดสารตกค้างที่มีต่อปริมาณพยาธิปนเปื้อน. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 58(ฉบับพิเศษ 1), 72-87. [สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/dmsc/article/view/241989
นันทพร จงกลนี และดุจดาว ทรงธรรมวัฒน์. (2558). การตรวจหาการปนเปื้อนของปรสิตในผักสดจากอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารเทคนิคการแพทย์, 43(1), 5142-5150. [สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://www.researchgate.net/profile/Dujdow-Songthamwat/publication/303330196_Detection_of_Parasitic_Contaminationin_Vegetables_from_Phra_Nakhon_Si_Ayutthaya_District_Phra_Nakhon_Si_Ayutthaya_Province/links/573d34bf08ae9ace840fee8b/Detection-of-Parasitic-Contamination-in-Vegetables-from-Phra-Nakhon-Si-Ayutthaya-District-Phra-Nakhon-Si-Ayutthaya-Province
นันทวดี เนียมนุ้ย, รัชนีกร สืบแก้ว, ณัฐชนน อักษรเนียม และคณะ. (2565). การศึกษาการปนเปื้อนของเชื้อ ปรสิตในผักที่จำหน่ายในตลาดสดและห้างสรรพสินค้าในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(1), 5-13. [สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/11736
สุนิสา ไกรนรา, ศิริกุล ธรรมจิตรสกุล, วรัญญา พานทอง, ฐาปนี ดิษฐเกษร, เมธาพร สุวรรณกลาง และรัตน์ติพร โกสุวินทร์. (2565). การตรวจหาการปนเปื้อนของปรสิตและโคลิฟอร์มแบคทีเรียในผักสดในตลาดองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วารสารควบคุมโรค, 48(3), 616-625. [สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566]; แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/DCJ/article/view/250765
อุมาพร ทาไธสง. (2555). ปรสิตก่อโรคที่ติดต่อผ่านทางอาหารและน้ำที่สำคัญในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 55(2), 212-220. [สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2565]; แหล่งข้อมูล: https://scijournal.buu.ac.th/index.php/sci/article/view/754
Adogo, L. Y., Maikenti, J. I., & Yakubu, H. D. (2021). Parasites on Vegetables Sold at Masaka Market, Karu, Nasarawa State, Nigeria. Nigerian Journal of Parasitology, 42(1), 115-121. [cited 2022 July 8]; Available from: https://www.ajol.info/index.php/njpar/article/view/205897
Beir, J. W., Jackson, G. J., Adams, A. M., & Rude, R. A. (2012). Bacteriological Analytical Manual Chapter 19: Parasitic Animals in Foods [online]. [cited 2022 August 13]; Available from: https://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bam-chapter-19-parasitic-animals-foods
Elahi, R., Kheirabadi, Y. P., Ahmadi, N., Gholamalizade, M., & Dehkodi, H. A. (2018). The Effect of Washing Procedures on Contamination of Raw Vegetables with Nematodes Larvae. Asian Journal of Pharmaceutic, 12(2), 498-502. [cited 2022 July 8]; Available from: http://www.asiapharmaceutics.info/index.php/ajp/article/view/2381
Eraky, M. A., Rashed, S. M., Nasr, M., El-Hamshary, A. M., & Salah El-Ghannam, A. (2014). Parasitic Contamination of Commonly Consumed Fresh Leafy Vegetables in Benha, Egypt. Journal of Parasitology Research, 2014, 1-7. [cited 2022 July 8]; Available from: https://doi.org/10.1155/2014/613960
Etewa, S., Abdel-Rahman, S., Fathy, G., Abo EI-Maaty, D., & Sarhan, M. (2017). Parasitic Contamination of Commonly Consumed Fresh Vegetables and Fruits in Some Rural Areas of Sharkyia Governorate, Egypt. Afro-Egyptian Journal of Infectious and Endemic Diseases, 7(4), 192-202. [cited 2022 July 8]; Available from: https://aeji.journals.ekb.eg/article_17804.html
Isazadeh, M., Mirzaii-Dizgah, I., Shaddel, M., & Homayouni, M. M. (2020). The Prevalence of Parasitic Contamination of Fresh Vegetables in Tehran, Iran. Turkiye parazitolojii dergisi, 44(3), 143-148. [cited 2023 February 20]; Available from: https://doi.org/10.4274/tpd.galenos.2020.6469
Punsawad, C., Phasuk, N., Thongtup, K., Nagavirochana, S., & Viriyavejakul, P. (2019). Prevalence of Parasitic Contamination of Raw Vegetables in Nakhon Si Thammarat Province, Southern Thailand. BMC Public Health, 19, 1-7. [cited 2022 November 10]; Available from: https://doi.org/10.1186/s12889-018-6358-9
Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences (6th ed.). John Wiley&Sons, Inc., 180.