การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : กรณีศึกษา 2 ราย
บทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดในสมอง ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย หากได้รับการรักษาพยาบาลที่ล่าช้าและไม่ได้มาตรฐาน พยาบาลต้องมีความรู้ความสามารถในการประเมินระยะแรกเพื่อการดูแลรักษาให้ทันเวลา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : กรณีศึกษา 2 ราย
วิธีการศึกษา : การศึกษาเพื่อเปรียบการศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่เข้ารับการรักษา โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนการจำหน่ายและการดูแลเชิงเนื้อหา
กรณีศึกษา : ที่เปรียบเทียบผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2 ราย
รายที่ 1 ผู้ป่วยชายไทยวัย 54 ปี อาการสำคัญ ไม่พูด อาเจียน จากนั้นมีอาการแขนขาอ่อนแรง ก่อนมาโรงพยาบาล 3 ชั่วโมง ได้รับการวินิจฉัย Ischemic Stroke
รายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 56 ปี อาการสำคัญ พูดไม่ชัดและแขนขาอ่อนแรงซีกซ้าย ก่อนมาโรงพยาบาล 4 ชั่วโมง ได้รับการวินิจฉัย Ischemic Stroke
สรุป : การศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการประเมินและค้นหาปัญหาผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงทางระบบประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่รวดเร็วทันเวลา เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัย นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ญาติมีความรู้ในเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ ได้แก่ ภาวะความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ นำไปปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ
คำสำคัญ : โรคหลอดเลือดสมอง การพยาบาล
References
2017/WSD_brochure_FINAL_sponsor_.pdf
World Stroke Day. [online]. [cited 2011 Aug 19] ;Available from: URL: http://www.worldstrokecampaign.org/media/Pages/AboutWorldStrokeDay 2010.aspx)
นลินี พสุคันธภัค, สายสมร บริสุทธิ์, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป. สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ; 2559.
เสาวลักษณ์ กองนิล. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย . 2557; 4(1): 90-97.
Limpastan K. Cerebrovascular diseases 2nd ed. Chaimai : Trio advertising & media; 2012.
Mannami, T., Iso, H., Baba, S., Sasaki, S., Okada, K., Konishi, M., et al. Cigrarette smoking and risk of stroke and its subtypes among middle-aged Japanese men and women : The JPHC Study Cohort I . Stroke,2004,35,1248-1253.
Prasat Neurological Institute. Clinical Nursing Practice Guideline for Stroke. Bangkok : Thai Neurological Nurse Society; 2007.
Satitpan C. The Nursing Management of Discharge Planning Program for Stroke Patients at the Tertiary Level Hospital in Suphanburi Province [internet]. 2555. [cited 2016 Oct 7]. Available from:http://library.christian.ac.th/thesis/document/T033059.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม