ผลของการเตรียมความสะอาดลำไส้ใหญ่ด้วยการให้ยา Swiff 2 ครั้งร่วมกับการสวนอุจจาระ การให้ยา Swiff 3 ครั้งและไม่สวนอุจจาระก่อนการส่องกล้องเพื่อการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา ศรีรักษา.
  • ชัชวาลย์ วชิรเมธารัชต์

บทคัดย่อ

    วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการเตรียมความสะอาดลำไส้ใหญ่ด้วยการให้ยา Swiff 2 ครั้งร่วมกับการสวนอุจจาระ การให้ยา Swiff 3 ครั้งและไม่สวนอุจจาระก่อนการส่องกล้องเพื่อการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่

วิธีการศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ด้วยการให้ยา Swiff 2 ครั้งร่วมกับการสวนอุจจาระจำนวน 72 ราย และการให้ยา Swiff 3 ครั้งและไม่สวนอุจจาระก่อนการส่องกล้องจำนวน 58 ราย เพื่อการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ที่หอผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย โดยใช้แบบคัดลอกข้อมูลในการเก็บรวมรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา ผู้ป่วยจำนวน 72 คนที่ได้รับการทำ Swiff 2 ครั้งร่วมกับการสวนอุจจาระ ส่วนมากเป็นเพศหญิงร้อยละ 62.50 อายุเฉลี่ย 59.98 ปี (+SD=6.35) โดยการส่องกล้องผลพบว่าความสะอาดลำไส้มีอุจจาระมากไม่สามารถตรวจสอบได้ร้อยละ 1.38 มีเนื้ออุจจาระปนร้อยละ 12.50  มีน้ำอุจจาระแต่สะอาดสมบูรณ์ร้อยละ 37.50 สะอาดดีมีน้ำปนบ้างร้อยละ 47.22 และสะอาดดีมากสะอาดตรวจสมบูรณ์ โดยผลการตรวจส่องกล้องลำไส้พบว่าปกติร้อยละ 43.06  ติ่งที่ยื่นออกมาจากผนังลำไส้ร้อยละ 43.06 ริดสีดวงร้อยละ 6.94 ติ่งเนื้องอกโอกาสกลายเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ 5.56 และtubular adenoma ร้อยละ 1.39  ส่วนผู้ป่วย 58 รายที่ให้ยา Swiff 3 ครั้งและไม่สวนอุจจาระก่อนการส่องกล้องส่วนมากเป็นเพศชายร้อยละ 51.72 อายุเฉลี่ย 60.45 ปี (+SD=6.35) ผลการส่องกล้องไม่พบระดับความสะอาดลำไส้ในระดับแย่มากมีเนื้ออุจจาระปนกับน้ำอุจจาระร้อยละ 1.72 มีน้ำอุจจาระแต่สะอาดสมบูรณ์ร้อยละ 17.24 สะอาดดีมีน้ำปนบ้างร้อยละ 62.06 และสะอาดดีมาก สะอาดตรวจสมบูรณ์ร้อยละ 18.96 ผลการส่องกล้องพบว่าพบว่าปกติร้อยละ 37.93 ติ่งที่ยื่นออกมาจากผนังลำไส้ร้อยละ 50.00 ริดสีดวงร้อยละ 1.72 โอกาสกลายเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ร้อยละ 8.62 และ carcinoma ร้อยละ 1.72

สรุปผลการศึกษา การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าร้อยละของความสะอาดลำไส้จากการเตรียมด้วยวิธี Swiff 3 ครั้งและไม่สวนอุจาระมากกว่าการเตรียมด้วยวิธีด้วย Swiff 2 ครั้ง และสวนอุจจาระ

คำสำคัญ การตรวจส่องกล้องสำไส้; การสวนอุจจาระ; สำไส้ใหญ่

 

References

Torre LA, Bray F, Siegel RL, Ferlay J, Lortet-Tieulent J, Jemal A. Global cancer statistics, 2012. CA Cancer J Clin ; 2015: (65) 87–108.

Pongnikorn D, Daoprasert K, Waisri N, Laversanne M, Bray F. Cancer incidence in northern Thailand: Results from six population-based cancer registries 1993-2012. Int J Cancer ;2017: 11

Virani S, Bilheem S, Chansaard W, Chitapanarux I, Daoprasert K, Khuanchana S, et al. National and Subnational Population-Based Incidence of Cancer in Thailand: Assessing Cancers with the Highest Burdens. Cancers ; 2017. 17:9

Sarakarn P, Suwanrungruang K, Vatanasapt P, Wiangnon S, Promthet S, Jenwitheesuk K, et al. Joinpoint Analysis Trends in the Incidence of Colorectal Cancer in Khon Kaen, Thailand (1989 – 2012). Asian Pac J Cancer Prev APJCP ; 2017 :1(8) 1039–43.

Gu M-J, Huang Q-C, Bao C-Z, Li Y-J, Li X-Q, Ye D, et al. Attributable causes of colorectal cancer in China. BMC Cancer; 2018 :18 -38.

Hughes LAE, Simons CCJM, van den Brandt PA, van Engeland M, Weijenberg MP. Lifestyle, Diet, and Colorectal Cancer Risk According to (Epi)genetic Instability: Current Evidence and Future Directions of Molecular Pathological Epidemiology. Curr Colorectal Cancer Rep ; 2017 : (13) 455–69.

Mullany LE, Herrick JS, Wolff RK, Stevens JR, Samowitz W, Slattery ML. MicroRNA-transcription factor interactions and their combined effect on target gene expression in colon cancer cases. Genes Chromosomes Cancer ; 2017 : 11 (8).

Falkowski S, Woillard J-B, Postil D, Tubiana-Mathieu N, Terrebonne E, Pariente A, et al. Common variants in glucuronidation enzymes and membrane transporters as potential risk factors for colorectal cancer: a case control study. BMC Cancer 2017 ;17:901.

Effects of interactions between common genetic variants and smoking on colorectal cancer. - PubMed - NCBI [Internet]. [cited 2018 Jan 8]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/29258461

Douma KFL, Aalfs CM, Dekker E, Tanis PJ, Smets EM. An E-Learning Module to Improve Nongenetic Health Professionals’ Assessment of Colorectal Cancer Genetic Risk: Feasibility Study. JMIR Med Educ ; 2017 : 3e24.

de Moura DT, Guedes H, Tortoretto V, Arataque TP, de Moura EG, Román JP, et al. [Comparison of colon-cleansing methods in preparation for colonoscopy-comparative of solutions of mannitol and sodium picosulfate]. Rev Gastroenterol Peru Organo Of Soc Gastroenterol Peru; 2016 : 36 293–7.

Fan X-P, Zhu Q, Zhou Y-J, Ma T, Xia C-X, Huang H-L. Comparative Study of Three Regimens of Bowel Preparation Before Transabdominal Ultrasonography of the Colon. Ultrasound Med Biol ;2016 : 42 (2) 140–5.

Martens P, Bisschops R. Bowel preparation for colonoscopy: efficacy, tolerability and safety. Acta Gastro-Enterol Belg ; 2014 :7 (7) 249–55.

Pontone S, Palma R, Panetta C, Eberspacher C, Angelini R, Pironi D, et al. A pilot study analyzing a 1-liter polyethylene glycol-based bowel preparation before colonoscopy for selected inpatients. J Dig Dis 2017 ; 21: (1)59-67

Khorasanynejad R, Norouzi A, Roshandel G, Besharat S. Bowel Preparation for a Better Colonoscopy Using Polyethylene Glycol or C-lax: A Double Blind Randomized Clinical Trial. Middle East J Dig Dis 2017 :9(2):12–7.

Mytyk A, Lazowska-Przeorek I, Karolewska-Bochenek K, Kakol D, Banasiuk M, Walkowiak J, et al. Clear-Liquid Versus Low-Fibre Diet in Bowel Cleansing for Colonoscopy in Children: A Randomized Trial. J Pediatr Gastroenterol Nutr ;2017: (6)256-68

van Lieshout I, Munsterman ID, Eskes AM, Maaskant JM, van der Hulst R. Systematic review and meta-analysis: Sodium picosulphate with magnesium citrate as bowel preparation for colonoscopy. United Eur Gastroenterol J ; 2017 (5) :917–43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-17