ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ลำเจียก กำธร
  • โสภิต สุวรรณเวลา
  • ชาติ ไทยเจริญ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความแข็งแกร่งในชีวิตและความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค ภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต สัมพันธภาพกับเพื่อน บรรยากาศในครอบครัว กับ  ความแข็งแกร่งในชีวิต ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงความสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ปีการศึกษา 2559  จำนวน 350 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ  1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามความแข็งแกร่งในชีวิต 3) แบบสอบถามเหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจ 4) แบบสอบถามความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค 5) แบบสอบถามภาวะสุขภาพจิต 6)  แบบสอบถามความสัมพันธภาพกับเพื่อน และ 7) แบบสอบถามบรรยากาศในครอบครัว  เครื่องมือเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้เท่ากับ 0.90, 0.94, 0.89, 0.82, 0.86 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์เชิงอันดับแบบสเปียร์แมน

ผลวิจัย : เหตุการณ์ที่สร้างความยุ่งยากใจมีความสัมพันธ์ทางลบกับความแข็งแกร่งในชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs = -.346) ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความแข็งแกร่งในชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs= .347) ภาวะปัญหาทางสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับความแข็งแกร่งในชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs= -.184 ) สัมพันธภาพกับเพื่อนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความแข็งแกร่งในชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs = .241)บรรยากาศในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความแข็งแกร่งในชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs= .345)    

สรุป : การศึกษานี้ให้ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับความแข็งแกร่งในชีวิตและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลต่อไป

คำสำคัญ : ความแข็งแกร่งในชีวิต, ปัจจัยสัมพันธ์ , นักศึกษาพยาบาล

References

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. สุขภาพจิต. [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ย. 2559]. เข้าถึงได้จาก: http://med.mahidol.ac.th/ramamental/06062014-0956.

อายุพร กัยวิกัยโกศล, สุทธามาศ อนุธาตุ, พัชรินทร์ นินทจันทร์. ผลของโปรแกรมการ เสริมสร้าง ความแข็งแกร่งในชีวิตต่อภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง. พิษณุโลก. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช; 2558.

อรพินทร์ ชูชม. ปัจจัยเชิงเหตุและผลของภูมิคุ้มกันทางจิตของเยาวชน. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2555.

วารีรัตน์ ถาน้อยและคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2555.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน,จริยา วิทยะศุภร. ความแข็งแกร่งในชีวิตเหตุการณ์ที่ สร้าง ความยุ่งยากใจและสุขภาพจิต ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลสุขภาพ 2556;7(2):13-26.

สุวิณี ภารา. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความแข็งแกร่งในชีวิตของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2555.

ทัศนา ทวีคูณ, พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน. ปัจจัยทำนายความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2553.

ศิริชนก จุลนาง. การพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค (AQ) ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.มหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2552.

สิรีย์ลักษณ์ ไชยลังกา และคณะ. ความมั่นคงทางอารมณ์และความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. พะเยา. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา; 2552.

พรสุภา วสุนธรา. ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญปัญหาและอุปสรรคกับความรับผิดชอบในงานของนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2549.

มะลิวรรณ วงษ์ขันธ์, พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งแกร่งในชีวิตในวัยรุ่น. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

พนาดร แสนใจ. ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันในครอบครัว การเห็นคุณค่าในตนเองและ กลวิธีในการเผชิญปัญหาของวัยรุ่น จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-18