ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์โดยมีปัจจัย ได้แก่ กระบวนการจัดการเรียนการสอน ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต การเตรียมความพร้อมก่อนสอบ ผลการสอบรวบยอด เกรดเฉลี่ยสะสม และเกรดรายวิชา ภาคปฏิบัติ 7 รายวิชา กลุ่มตัวอย่าง คือ บัณฑิตพยาบาลรุ่นที่ 2 สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2560 จำนวน 28 คน เครื่อง มือท่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการเตรียมความพร้อมก่อนสอบขอข้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ช้นหนึ่ง แบบสอบถามกระบวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต แบบรายงานผลการสอบรวบยอด รายงานเกรดเฉลี่ยสะสม และรายงานเกรดรายวิชาภาคปฏิบัติ 7 รายวิชา วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ผลการสอบรวบยอดและเกรด รายวิชาภาคปฏิบัติบางรายวิชา ได้แก่ วิชาปฏิบัติการการผดุงครรภ์ วิชาปฏิบัติการการพยาบาลเด็ก และวิชาปฏิบัติการการผู้ใหญ่ มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขอข้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 0.01 ส่วนการเตรียมความพร้อมก่อนสอบและเกรดเฉลี่ยสะสมไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิต
สรุป จากผลการวิจัยในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ผลการ สอบรวบยอด และเกรดคะแนนภาคปฏิบัติบางรายวิชามีความสัมพันธ์กับผลการสอบขอข้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ดังนั้น คณะฯ ควรพัฒนากระบวนการเรียนสอนโดยเฉพาะรายวิชาภาคปฏิบัติ และกระบวนการเตรียมความพร้อมก่อนสอบ อย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ : ปัจจัย,การสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง
References
สุพัตรา จันทร์สุวรรณ, สุภาวดี นพรุจจินดาและอุมากร ใจยั่งยืน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบ ความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี .Journal of Nursing and Education.2016 ; 9 (2): 81-92.
วิภาดา คุณาวิกติกุล, อารีวรรณ กลั่นนกลิ่น, รัตนาวดี ชอนตะวันและสุปราณี อัทธเสรี.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ ผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์. Thai Journal of Nursing Council.2012; 27(3):11-27.
วิลัยพร นุชธรรม, ลาวัลย์ สมบูรณ์, เทียมศร ทองสวัสดิ์, สุดธิดา แก้วขจร และ วีระพันธุ์ ศิริฤทธ์.ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับผลการสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ช้นหนึ่งของบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัย เชียงราย. พยาบาลสาร.2556; 40 (ฉบับบพิเศษ ):
61-67.
ยุวดี วัฒนานนท์,วชิรา วรรณสถิตย,วิลาวัลย์ ดวงล้อมจันทร์,ฉวีวรรณ สาระคง และวรรณทิน ยิ่งพัฒนพันธ์.ปัจจัย ทานายผลการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ของผู้สอบประจาปี พ.ศ. 2553 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวทยาลยมหิดล. วารสารพยาบาลศาสตร์; 2011; 29 (2) : 65-72.
พรทิพา ทักษิณ, ศุกร์ใจ เจริญสุข และอุบล สุทธิเนียม. ผลสมฤทธิ์ทางการเรียน การเตรียมความพร้อม และ ผลการสอบการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบ อนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. Thai Journal OF Nursing Council.2011; 26(3):117-129.
นัยนา อินธิโชติ, ไพฑูรย์ มาผิว, วาสนา ครุฑเมือง และ ศศิธร ชิดนายี.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการสอบความรู้ ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2548 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. Journal of Health Science. 2008;2(1): 22-30.
ศิริญญา คงอยู่. ปัจจัยทำนายผลการสอบความรู้ผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของบัณฑิตพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก.วารสารวิทยาลัย ทหารบก. 2560;18(2): 228-237.
นงณภัทร รุ่งเนย, กฤษณา หงส์ทอง และจันทร์จิรา สีสว่าง.กระบวนการพัฒนาความรู้ของนักศึกษาพยาบาล เพื่อสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ช้นหนึ่ง. Journal of Boromarajonani College of Nursing.2559; 32(2) : 56-67.
รัตนาภรณ์ คงคา, วิชชุดา เจริญกิจการ, วันดีโตสุขศรี และเพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ สอบผ่านความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ช้นหนึ่ง บัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัย มหิดล. Journal of Nursing Science.2555; 30(3):82-91.
เพ็ญแข แสงโนรี, สุขจิต ณ นคร, รัตนา สำราญใจ และ สถาพร อนันต์คุณณูปการณ์.ปัจจัยคัดสรรที่มีความ สัมพันธ์กับผลการสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ช้นหนึ่งของบัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย หัวเฉียว.วารสารมฉก.วิชาการ. 2547; 8(15) :14-36.
พรพรรณ ภูสาหัส, สมสุข ภาณุรัตน์ และยุวดี แตรประสิทธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ยสะสม ตลอดหลักสูตร ผลการสอบเสมือนจริง กับผลการสอบ ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งของผู้สาเร็จการ ศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ.วารสารพยาบาลตำรวจ. 2559; 8(1) : 153-159.
Harris,E.L. How schools succeed: Context, culture, and strategic leadership. 2nd ed., New York : Rowman & Littlefield ; 2015.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม