การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ที่ได้รับยาเคมีบำบัด

ผู้แต่ง

  • ปัทมา เพชรไพรินทร์

บทคัดย่อ

ความเป็นม โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันเป็นโรคร้ายแรงที่คุกคามชีวิต การรักษาที่สำคัญคือการได้รับยาเคมี บำบัด และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ส่งผลให้ต้องนอนโรงพยาบาลนานและอาจถึงเสียชีวิตได้

วัตถุประสงค เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ที่ได้รับยาเคมีบำบัด กรณีศึกษา ผู้ป่วย 2 ราย

วิธีการศึกษา ศึกษาผู้ป่วย 2 รายเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ที่ได้รับยาเคมีบำบัด และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลขอนแก่น โดยศึกษาประวัติผู้ป่วยการรักษาพยาบาลรวบรวมข้อมูล จากผู้ป่วย ญาติและเวชระเบียน การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิดแบบประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน วางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล สรุปและประเมินผลลัพธ์ ทางการพยาบาล

ผลการศึกษา กรณีศึกษาผู้ป่วยรายที่  1 หญิงไทยอายุ 15 ปี ผู้ป่วยรายที่  2 หญิงไทยอายุ 39 ปี ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับ การวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ระยะแรก ได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อเหนี่ยวนำให้โรคสงบ (Induction treatment) หลังได้รับยาเคมีบำบัดมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นคือมีภาวะไขกระดูกถูกกดทำให้มีภาวะซีด เม็ดเลือด ขาวต่ำและเกล็ดเลือดต่ำ และผู้ป่วยรายที่ 2 มีไข้ในภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Febrile Neutropenia)  มีท้องร่วง ผู้ป่วยได้รับ การดูแลต่อเนื่องแบบองค์รวม พร้อมทั้งได้รับการแก้ไขภาวะต่างๆอย่างรวดเร็ว มีการเตรียมความพร้อมทั้งก่อน ขณะ และ หลังให้ยาเคมีบำบัด ทำให้ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงเสียชีวิต

รุป การเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอลอยด์เพื่อรับยาเคมีบำบัด  การประเมิน ภาวะแทรกซ้อนได้อย่างรวดเร็ว และให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพจะช่วยลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนขณะได้รับ ยาเคมีบาบัด และลดอัตราการเสียชีวิต ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ ความชำนาญการเป็นพิเศษและมีแนวทางการ พยาบาลที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คำสำคัญ : การพยาบาล มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ ยาเคมีบำบัด

References

ธนกฤต สมประเสริฐกุลและคณะ. เปรียบเทียบการรักษา ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดมัยอีลอยด์ ระหว่างการปลูกถ่ายไขกระดูกกับการให้ยาเคมีบำบัด ในขนาดสูง.วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต ; 2554 : 21 (4) 253 - 259.

งานจัดการสารสนเทศ กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลขอนแก่น : (เข้าถึงเมื่อ 12 มกราคม 2561).

วีระศักดิ์ นาวารวงศ์. Acute Myeloid Leukemia ใน วิชัย ประยูรวิวัฒน์ แสงสุรีย์ จุฑา และถนอมศร ศรีชัยกูล บรรณาธิการ.ตำราโลหิตวิทยา - การวินิจฉัย และการรักษาโรคเลือดที่พบบ่อยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์; 2550 : 331-359.

ธานินทร์ อินทรกำธรชัยและธัญญพาษ์ ณ นคร. Acute Myeloid Leukemia.ในอุดมศักด บุญวรเศรษฐ์ บรรณาธิการ.โลหิตวิทยาในเวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; 2551 : 271- 281.

นภชาญ เอื้อประเสริฐ.Chulalongkorn hematology handbook.กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ; 2555 : 82 - 87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-20