ผลของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปต่อฮีโมโกลบิน เอวันซี และสุขสมรรถนะ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • อัญชลี แก้วไชย

บทคัดย่อ

บทนำ : โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus) เป็นโรคเรื้อรังที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายแนวทางที่จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนลดอัตราการตายและลดอัตราเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลได้คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือมีระดับฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) ให้อยู่ในระดับปกติโดยการรักษาด้วยยาร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการออกกำลังกาย

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปต่อฮีโมโกลบิน เอวันซี  และสุขสมรรถนะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

วิธีการดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ใช้เทคนิคการวิจัยแบบ Randomized control trial โดยกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูป ครั้งละ 45 นาที  3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมปฏิบัติกิจวัตรตามปกติ เก็บข้อมูลฮีโมโกลบิน เอวันซี  และสุขสมรรถนะก่อนการทดลอง ภายหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และภายหลังการทดลอง 12 สัปดาห์

ผลการวิจัย : กลุ่มทดลองมีระดับฮีโมโกลบิน เอวันซี  ภายหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ ลดลงแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กลุ่มทดลองมีสุขสมรรถนะด้านการใช้ออกซิเจนสูงสุด (Vo2peak) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และความอ่อนตัว ภายหลังการทดลองสัปดาห์ 6 และภายหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 เพิ่มขึ้นแตกต่างจากกลุ่มควบคุมมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ไม่พบการเปลี่ยนแปลงค่าดัชนีมวลกาย เส้นรอบเอวและไขมันใต้ผิวหนัง

สรุป : การออกกำลังกายด้วยฮูลาฮูปส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับฮีโมโกลบิน เอวันซี  ความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง และความอ่อนตัว

คำสำคัญ : ฮูลาฮูป    ฮีโมโกลบิน เอวันซี   สุขสมรรถนะ

References

สารัช สุนทรโยทิน. (2555). กลไกการ
เกิดโรงเบาหวานชนิดที่ 2 . ตำรา โรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิไล อ่อนศิลา. (2555) รู้จักเบาหวานให้รอบด้าน. เบาใจไม่เป็นเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์

American Diabetes Association. (2012). Standard of medical care in diabetes 2012. Diabetes Care. ;35 : S11-13.

บำเหน็จ แสงรัตน์ (2551). ผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิง มช. ต่อระดับไกลโคไซเลทฮีโมโกลบินของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. พยาบาลสาร 36 (4) :59-72

Umpierre.D.et.al (2011). Physical Activity Advice Only or Structured Exercise Training and Association with HbA1c Levels in Type 2 Diabetes. JAMA. 305(17): 1790-99.

American Diabetes Association. (2014).
Standards of Medical Care in Diabetes 2012. Diabetes Care.

Winnick J.J., Sherman W.M., Habash D.L., Stout M.B., Failla M.L., Belury M.A., Schuster D.P. (2008). Short-term aerobic exercise training in obese human with Type 2DM improves whole-body insulin sensitivity. J Clin Endocrinol Metab; 93(3)771-8

Gordon.H. et al. (2008). Effect of exercise therapy on lipid profile and oxidative stress indicator in patient with type 2 diabetes. Complementary and Alternative Medicine ; 8(21): 1-10

Sigal , R.J., Kenny, G.P., Wasserman, D.H & Castaneda-sceppa, C. (2004). Physical activity and exercise and type 2 diabetes (technical review). Diabetes Care; 27(10) 2518-2539

ฉกาจ ผ่องอักษร. (2553). ข้อแนะนำการออกกำลังกายในผู้เป็นเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัฑณ์.

American College of Sports Medicine (ACSM). (2000). Aerobic exercise guidelines for specific goals. from http://www.exrx.net/Aerobic/AerobicGoals.htm

สนธยา สีละมาด สนธยา. (2547). หลักการฝึกกีฬาสำหรับผู้ฝึกสอนกีฬา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

McArdle, W.D.M., Katch, F.I. and Katch, V.L. (2007). Exercise Physiology. New York: Praeger Publisher.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-24