ประสิทธิภาพของการให้ยา ketamine ร่วมกับยา propofol ในการระงับ ความรู้สึกผู้ป่วยที่มาส่องกล้องลำไส้ใหญ่

ผู้แต่ง

  • จันทร์จิรา ควรรติกุล
  • รำไพ ด้วงคำจันทร์
  • สุมามาลย์ บุตรไทย

บทคัดย่อ

บทนำ : การส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นหัตถการที่ก่อให้เกิดอาการปวด อึดอัดแน่นท้องแก่ผู้ป่วยได้ การให้ยาระงับ ความรู้สึกจึงมีความจำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างมาก

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการให้ยา ketamine ร่วมกับ propofol เปรียบเทียบกับการให้ยา propofol อย่างเดียว ในการระงับความรู้สึกผู้ป่วยที่มาส่องกล้องลำไส้ใหญ่

วิธีการศึกษา : ศึกษาแบบ prospective randomized double blinded controlled trial ในผู้ป่วย 90 คน ที่มา ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ในโรงพยาบาลมหาสารคาม โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 45 คน ได้แก่ กลุ่ม ketamine(K) จะได้ยา ketamine 0.5 mg/kg และ propofol 1 mg/kg และ กลุ่ม normal saline(N)จะได้ normal saline และ propofol 1 mg/kg หลังจากนั้นทั้งสองกลุ่มจะได้ propofol infusion อย่างต่อเนื่อง บันทึกความดันเลือด อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด ปริมาณยา propofol ที่ใช้ อาการปวด ภาวะแทรกซ้อนทีเกิดขึ้น ความสะดวกในการใส่กล้อง endoscope ระยะเวลาฟื้นจากยา และความพึงพอใจของผู้ป่วยและแพทย์ผู้ส่องกล้องต่อวิธีการ ให้ยาระงับความรู้สึกโดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบบันทึกทางวิสัญญีที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ผลการศึกษา : พบการเกิดความดันเลือดต่ำและหัวใจเต้นช้าในกลุ่ม K ร้อยละ 13.3 ซึ่งน้อยกว่ากลุ่ม N ที่พบร้อยละ 40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.004) ใช้ปริมาณยา propofol ในกลุ่ม K 7.41±2.43 mg/kg/hr น้อยกว่าในกลุ่ม N  ที่ใช้ 9.97±3.15 mg/kg/hr อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) recovery time ในกลุ่ม K เท่ากับ 10.91 นาที ซึ่งนาน กว่าในกลุ่ม N ที่เท่ากับ 7.22 นาที (p<0.001) แต่อย่างไรก็ตาม recovery score หลังจากส่องกล้องเสร็จ 30 นาที เท่ากับ 10 ในทั้งสองกลุ่ม แพทย์ผู้ส่องกล้องในกลุ่ม K มีความพึงพอใจมากกว่ากลุ่ม N อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.010) ส่วน ความพึงพอใจของผูป้ ว่ ยไมแ่ ตกตา่ งกัน (p=0.634) ไมพ่ บผูป้ ว่ ยมีอาการปวดในกลุม่ K และมีอาการปวดเพียงเล็กนอ้ ยในกลุม ่N (p=0.080) สรุป : การให้ ketamine ร่วมกับ propofol มีประสิทธิภาพดีในการระงับความรู้สึกผู้ป่วยที่มาส่องกล้องลำไส้ใหญ่ สามารถควบคุมระบบไหลเวียนเลือดให้คงที่ได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ propofol เพียงอย่างเดียว นอกจากนั้นยังลด ปริมาณการใช้ propofol ไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ผู้ป่วย ปลอดภัย แพทย์ผู้ส่องกล้องและผู้ป่วยพึงพอใจ

คำสำคัญ : Ketamine, Propofol, การระงับความรู้สึก,ส่องกล้องลำไส้ใหญ่

References

Amornyotin S. Anesthesia for colonoscopy. In : Phongprasobchai S. Akaraviputh T. Kachintorn U. editors. Colonoscopy, Bangkok : Krugthepvejasarn : 2011 : 22-37.

Bryson EO, Sejpal D. Anesthesia in remote lacation : radiology and beyond, international anesthesiology clinics : gastroenterology: endoscopy, colonoscopy, and ERCP. Int Anesthesiol Clin. 2009; 47 : 69-80.

Amornyotin S, Srikureja W, Pausawasdi N, Prakanrattana U, Kachintorn U. Intravenous sedation for gastrointestinal endoscopy in very elderly patients of Thailand. Asian Biomed 2011; 5 : 485-91.

Mohammad J, Maryam B, Amin D, Rasoul M, Mona A, Hadi M. Ketamine-propofol combination(ketofol) vs propofol for procedural sedation and analgesia: systematic review and meta-analysis. Am J Emerg Med 2016;34:558-69.

Bahattin T, Yonca Ozavardar P, Arzu C, Pinar Z. Addition of low dose ketamine to midazolam-fentanyl-propofol based sedation for colonoscopy: a randomized, double blind, control trial. J Clin Anesth 2015; 27 : 301-6

Amornyotin S, kongphlay S. Clinical efficacy of combination of propofol and ketamine(ketofol) for deep sedation in colonoscopic procedure. Journal of Gastroenterology and Hepatology Research 2015; 4(7) : 1689-93.

Khajavi M, Emami A, Etezadi F, Safari S, Sharifi A, Moharari RS. Concious sedation and analgesia in colonoscopy: ketamine/ propofol combination has superior patient satisfaction versus fentanyl/ propofol. Anesth Pain 2013; 3 : 208-213

Tosun Z, Aksu R, Guler G, Esmaoglu A, Akin A, Aslan D, Boyaci A. Propofol-ketamine vs propofol-fentanyl for sedation during pediatric upper gastrointestinal endoscopy. Pediatr Anesth 2007;17:983-88.

Tang YY, Lin XM, Huang W, Jiang XO. Addition of low-dose ketamine to propofol- fentanyl sedation for gynecologic diagnostic laparoscopy: randomized contolled trial. J Minim Invasive Gynecol 2010;17 : 325-30

Riham H, Wael E. Ketamine/propofol versus fentanyl/propofol for sedating obese patients undergoing endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP). Egyptian Journal of Anaesthesia 2013;29 : 207-211.

Chernik DA, Gillings D, Laine H, Hendler J, Silver JM, Davidson AB, et al. Validity and reliability of the observer’s assessment of alertness/sedation scale: study with intravenous midazolam . J Clin Psychopharmacol. 1991;10:244-51

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28