การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชีระดับหน่วยเบิกจ่าย (GFMIS) ของโรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ พงษ์นิมิตร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการประเมินผล การปฏิบัติงานด้านบัญชี และสามารถนำผลที่ได้มาใช้ประกอบการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา จนใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาข้อมูลทางบัญชีให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน  และมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

 วิธีการและขอบเขตการวิเคราะห์ข้อมูล : เป็นการรวบรวมข้อมูลโดยรวบรวมข้อมูลจากรายงานการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชี ของโรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยใช้เทคนิคผังรากไม้ หรือผังต้นไม้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล : พบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชี  ด้านนโยบายของผู้บริหาร คือ โรงพยาบาลมีนโนบายจัดโครงสร้างและแต่งตั้งบุคลากรตรงกับ สายงานที่ปฏิบัติ รวมถึงมีการกำหนดนโยบายพัสดุ การเงิน การบัญชี ไว้อย่างชัดเจน และมีนโยบายสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ และครุภัณฑ์ ให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ด้านบุคลากร คือ ผู้ปฏิบัติงาน  มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานระบบ GFMIS ของงานพัสดุ การเงิน การบัญชี และมีความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบงบการเงินที่ประมวลผลจากระบบ GFMIS ด้านการใชงาน Web Online ระบบ GFMIS คือ ผู้ปฏิบัติงานพัสดุ การเงิน การบัญชี มีการตรวจสอบตั้งแต่นำเข้าข้อมูลจนถึงการประมวลผล เพื่อลดความผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน  ด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กร ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคคล คือ ประสบการณ์ อายุ และระดับการศึกษา ปัจจัยด้านงาน คือ ลักษณะงาน ทักษะในการทำงาน และโครงสร้างของงาน ปัจจัยด้านการจัดการ    คือ ความมั่นคงในงานและโอกาสก้าวหน้า เพื่อนร่วมงาน และความรับผิดชอบงาน

สรุป : จากผลการวิเคราะห์พบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ด้านบัญชี ได้แก่ นโยบายและการบริหารจัดการ การใช้ GFMIS  ของบุคลากร และสิ่งแวดล้อมในองค์กร ซึ่งปัจจัยดังกล่าว เป็นสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน และส่งผลต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน

คำสำคัญ : ปัจจัย  ผลกระทบ  การประเมินผลการปฏิบัติงานด้านบัญชี

 

References

กระทรวงวัฒนธรรม. แนวทางการตรวจสอบบัญชีของ ส่วนราชการในระบบ GFMIS. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www. m-culture.go.th

ชมภูนุช หุ่นนาค. การประเมินผลระบบการบริหารการ เงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS). วารสารวิทยบริการ. ปีที่ 21(2). [เข้าถึง เมอื่ 25 มถินุายน 2560]. การเข้าถึงได้จาก http://tcpa. or.th

พัชราภรณ์ ลิมปิอังคนันต์. ปัญหาและแนวทางแก้ไข การใช้โปรแกรม GFMIS ในการจัดการด้านการ เงินการคลังของประเทศไทยผ่านเครือข่าย Internet : กรณีศึกษาหน่วยงานราชการใน จังหวัดแพร่. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก http://tdc.thailis.or.th

สริกิร พรหมปงิหา. การนำเข้าข้อมูล ความรู้ความสามารถของบุคลากรขีดความสามารถของเทคโนโลยีและ การสนับสนุนของผู้บริหารส่งผลต่อประสิทธิผลของ ระบบ GFMISของผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. วารสารวิทยการจัดการสมัยใหม่. 10 (1). [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www. mgts.lpru.ac.th

ทิวากาล ด่านแก้ว. ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อศักยภาพในการทำงานของนักบัญชีองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารบริหาร ศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2560]. เข้าถึงได้จาก http://www. tci-thaijo.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28