รายงานการสอบสวนโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนประถมศึกษา ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • บัณฑิต พิทักษ์
  • สุรสิทธิ์ ศรีวิรัตน์
  • สมบูรณ์ แพนสมบัติ
  • กฤษดา น้อยสุวรรณ
  • ญานีกร สีสุรี
  • ศิริพร พูลมี

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกิงได้รับแจ้งทาง Facebook กลุ่ม SRRT เมืองมหาสารคาม จากงานระบาดวิทยา กลุ่มงานเวชกรรมสังคม       โรงพยาบาลมหาสารคามว่า มีผู้ป่วยโรคมือเท้าปาก เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน 1 ราย ผู้ป่วยเรียนอยู่ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลเกิ้ง ทีม SRRT ตำบลเกิ้งร่วมกับทีม SRRT เมืองมหาสารคาม ดำเนินการสอบสวนโรคระหว่าง วันที่ 23 พฤษภาคม - 11 มิถุนายน 2560

วัตถุประสงค์ : เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการระบาดของโรค หาเชื้อที่เป็นสาเหตุและแหล่งแพร่เชื้อของการระบาด และควบคุมการระบาดของโรค

วิธีการศึกษา : ศึกษาระบาดเชิงพรรณนา โดยศึกษาข้อมูลสถานการณ์โรคมือเท้าปากของประเทศไทย จังหวัด มหาสารคามและอำเภอเมืองมหาสารคาม ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยใช้นิยามคือ เด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็ก โรงเรียนประถม ศึกษาและชุมชนตำบลเกิ้ง อำเภอเมืองมหาสารคาม ที่มีแผลในช่องปากหรือมีผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และก้น ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม - 11 มิถุนายน 2560 ทำการตรวจยืนยันทางห้องปฎิบัติการ โดยเก็บ Throat swab จากผู้ป่วยจำนวน 7 ราย โดยวิธี RT-PCR และตรวจแยกเชื้อไวรัส และสำรวจสภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไปที่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคใน ศูนย์พัฒนาเด็ก โรงเรียนประถมศึกษาและบ้านผู้ป่วย

ผลการสอบสวน : ในปี พ.ศ.2560 สถานการณ์การระบาดของโรคมือเท้าปากในระดับประเทศ จังหวัดและอำเภอ เมืองมหาสารคามมีแนวโน้มสูงขึ้น อัตราป่วย เท่ากับ 41.62, 41.83 และ 33.82 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ จากการ สอบสวนโรคพบผู้ป่วยยืนยัน 7 ราย ผู้ป่วยเข้าข่าย 18 ราย อัตราป่วยในศูนย์พัฒนาเด็ก ร้อยละ 15.1 โรงเรียนประถมศึกษา ร้อยละ 10 รายแรกเริ่มป่วยวันที่ 17 พฤษภาคม 2560 รายสุดท้ายวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ 2 ราย พบสารพันธุกรรมของไวรัส EV 71 subgroub B5 การมีกิจกรรมและการเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัวมาร่วมกัน เป็น ปัจจัยที่เกิดการะบาดในครั้งนี้

สรุป : การระบาดของโรคมือเท้าปากจากเชื้อ EV-71 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, โรงเรียนประถมศึกษาและในชุมชน หลัง จากทำการปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียนประถมศึกษา รวมทั้งการทำ ความสะอาดห้องเรียนและอุปกรณ์ของเล่น ไม่ พบผู้ป่วยเพิ่มเติม แต่ในชุมชนยังพบผู้ป่วยเพิ่มจากการที่เด็กไปเรียนในโรงเรียนอื่น ๆ ในเขตเทศบาลเมืองที่ยังมีการระบาด ของโรค

คำสำคัญ : โรคมือ เท้า ปาก, Enterovirus 71, การสอบสวนโรค

References

กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาพิเศษ สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. ผลการเฝ้าระวังเชื้อ ก่อโรคทางห้องปฎิบัติการและปัจจัยทางระบาด วิทยาในผู้ป่วยกลุ่มโรคติดเชื้อระบบสมองและ ประสาท กลุ่มโรคปาก เท้า มือ กลุ่มอาการไข้หวัดใหญ่ ปี พ.ศ. 2557 - 2559. กรุงเทพฯ : บริษัท ฮีซ์ จำกัด; 2560.

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำเดือน มิถุนายน 2560. เอกสารอัดสำเนา; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. รายงานเฝ้า ระวังทางระบาดวิทยาประจำเดือนมิถุนายน2560. เอกสารอัดสำเนา; 2560.

สำนักงานระบาดวทิยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โรคมือ เท้า ปาก. (ม.ป.ท.). [เข้าถึงเมื่อ 23 มิ.ย.560]. เข้าถึงได้จาก http://www.boe.moph. go.th/fact/Hand-Foot-Mouth.htm.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถานการณ์โรคและภัยที่สำคัญประจำสัปดาห์ ที่ 26. เอกสารอัดสำเนา; 2560.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-29