รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึก เพื่อผ่าตัด ของวิสัญญีพยาบาล
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดของวิสัญญี พยาบาล และศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัด
วิธีดำเนินการวิจัย : การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) วิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลสระบุรี จำนวน 20 คน 2) ผู้ป่วยสูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปที่สามารถสื่อสารรู้เรื่องและได้รับการระงับความรู้สึก โดยใส่ท่อช่วยหายใจ จำนวน 85 คน ดำเนินการศึกษาในระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2557 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือ ที่ใช้ในการดำเนินการศึกษา ได้แก่ แนวปฏิบัติการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึก แผนการเยี่ยม ผู้ป่วยก่อนผ่าตัด และแผนวิธีการให้ยาระงับความรู้สึก และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการ สะท้อนคิด และแบบบันทึกความเสี่ยงของกลุ่มงานวิสัญญี ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน วิธีดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนพัฒนา 2) การพัฒนารูปแบบ 3) การทดลองใช้ 4) การสังเกตผลของการ ปฏิบัติ และ 5) การสะท้อนผลของการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลวิจัย : รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การวางแผนเตรียมความพร้อมผู้ปฏิบัติ 2) การขยายบริการและเพิ่มการเข้าถึงบริการวิสัญญีแบบกึ่ง one stop service ที่แผนกผู้ป่วยนอกห้องตรวจศัลยกรรม 3) การเยี่ยมประเมินเตรียมความพร้อมที่หอผู้ป่วย 4)การให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติ 5) เตรียมความรู้และทักษะวิสัญญีพยาบาล 6) การส่งต่อข้อมูลในทีมวิสัญญีพยาบาลและการปฏิบัติเตรียมความพร้อมในวัน ผ่าตัด 7) การติดตามเยี่ยมหลังผ่าตัด และ 8) ร่วมทบทวนอุบัติการณ์ผู้ป่วยทุกราย เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ผลลัพธ์ ที่เกิดจากการปฏิบัติตามรูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัด พบว่า สามารถลด อุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อนวิกฤตของระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือดหลังได้รับยาระงับความรู้สึก ไม่พบอุบัติการณ์งด เลื่อนจากความไม่พร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เพิ่มทักษะการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึก เพื่อผ่าตัดของวิสัญญีพยาบาล และผู้ป่วยสูงอายุมีความพึงพอใจ
สรุป : การนำรูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดของวิสัญญีพยาบาล สามารถพัฒนาความรู้ ความสามารถด้านการปฏิบัติการพยาบาล และมีผลลัพธ์ที่ดี เป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปใช้พัฒนา ทักษะทางคลินิกต่อไป
คำสำคัญ : การเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด, การระงับความรู้สึก, ผู้สูงอาย
References
ธันยมัย ปุรินัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติการเตรียม ความพร้อมของผู้ป่วยก่อนการรับความรู้สึกเพื่อลด อัตราการเลื่อนผ่าตัดในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. การ ประชุมวิชาการชมรมวิสัญญีพยาบาลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 : คุณค่าของวิสัญญีพยาบาลต่อสุขภาพ ประชาไทย; 2555 พฤษภาคม 19-20; กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.;2555;122-123.
กลุ่มงานวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลสระบุรี. รายงาน สถิติผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด ปี 2556.
กลุ่มงานวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลสระบุรี. รายงาน ผลการวิเคราะห์อุบัติการณ์ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ด้วยการผ่าตัด ปี 2557.
Ludwing VB. General System Theory Foundation, Development, and Applications. New York: George Braziller, Inc, 1968.
Titler MG, Kleiber C, Steelman VJ, et al. The IOWA model of evidence-based practice to promote quality of care. Crit Care Nurs Clin North Am 2001;13(4):497-509. 7. Donabedian A. An Introduction to Quality Assurance in Health Care. New York: Oxford University Press, 2003.
Beyea SC, Slattery MJ. Evidence-based practice in nursing. Marblehead, MA: HCPro, Inc. 2006.
The Joanna Briggs Institute. JBI Best Practice Technical Report. [Online]. [cited 2009 May 26]; Available from: http://joannabriggs.org/ assets/docs/jbc/operations/prot-sr-bpis- tech-templates/JBC_Templ_TechRpt.pdf.
DiCenso A. Cullum N. Implementing evidence- based nursing: some misconceptions. Evid Based Nurs 1998;1(2):38-40.
อรนุช คลังบุญครอง. การพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูล เตรียมความพร้อมเพื่อลดความวิตกกังวลสำหรับ ผู้ป่วยที่ต้องการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบ สุขภาพ 2558;7(3):86-94.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การ จัดการองค์การพยาบาลในทศวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
นันทนา หรรษอุดม . ความพึงพอใจของผู้ป่วยเกี่ยวกับ การเตรียมความพร้อมสำหรับการได้รับยาระงับ ความรู้สึกทั่วร่างกายในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ 2555. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการชมรมวิสัญญี พยาบาลแห่งประเทศไทย ประจำปี 2555. 113-114.
ประหยัด พึ่งทิม, ฑิฆัมพร ชาวขมิ้น, อรทัย พงษ์อำไพ และเมธิณี เกตวาธิมาตร. การพัฒนารูปแบบบริการ เร่งด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาล สระบุรี. วารสารกองการพยาบาล 2557;41(3):6-25.
กาญจนา อุบลพงศ์. ศึกษาการพัฒนารูปแบบบริการ พยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ผ่าตัดเปิดทวารเทียม โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกองการพยาบาล 2555;39(3):51-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม