การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลวาปีปทุมและเครือข่ายบริการ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลวาปีปทุม และเครือข่าย บริการ
วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้ร่วมดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ดูแลผู้ป่วย และบุคลากรผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ถึง กันยายน พ.ศ. 2559 ดำเนินการใน 3 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนาระบบบริการ และ 3) ประเมินผล เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วย แนวคำถามในการ สัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแล และแนวคำถามในการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบปัญหาการบริการทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์ ระยะพัฒนาระบบ บริการ ได้มีกระบวนการพัฒนา 3 วงจรคุณภาพ เกี่ยวกับ 1) การเข้าถึงบริการช่องทางด่วนที่รวดเร็ว 2) การคัดกรองผู้ป่วย 3) กระบวนการดูแลผู้ป่วย 4) การพัฒนาแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วย และ 5) การติดตามผู้ป่วย ระยะประเมินผล พบว่า บุคลากรผู้ให้บริการมีการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วย ร้อยละ 100 ผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วยที่มาถึง โรงพยาบาลภายใน 180 นาที พบว่า ระยะเวลาตั้งแต่มีอาการจนมาถึงโรงพยาบาลเฉลี่ย 72.22 นาที การประเมินแรกรับ เฉลี่ย 4.39 นาที การตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้าเฉลี่ย 3.67 นาที การเตรียมเพื่อส่งไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลแม่ข่ายหลังได้รับ การรักษาพยาบาลเบื้องต้นเฉลี่ย 5.42 นาที รวมระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่แรกรับจนถึงส่งต่อเฉลี่ย 13.47 นาที และจากการ ติดตามผลหลังส่งต่อ ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต
สรุป : ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ระบบบริการช่องทางด่วนที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว และได้มาตรฐาน
คำสำคัญ : ระบบบริการช่องทางด่วน, โรคหลอดเลือดสมอง
References
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข; 2558.
Truelsen T, Begg S, Mathers C. The global burden of cerebrovascular disease 2000. 2006 [cited August 30, 2017]. Available from: www.who.int/healthinfo/statistics/bod cerebrovasculardiseasestroke.pdf.
Albers GW, Amarenco P, Easton JD, Sacco RL, Teal P. Antithrombotic and thrombolytic therapy for ischemic stroke : American College of Chest Physicians Evidence Based Clinical Practice Guidelines (8th Edition). Chest 2008; 133 (6 Suppl):630S-669S.
คณะทำงานพัฒนาระบบบริการทางด่วนพิเศษสำหรับผู้ บาดเจ็บและโรคหลอดเลือดหัวใจ-สมอง เขต 12 คู่มือการดูแลผู้ป่วยในระบบทางด่วนพิเศษสำหรับ บุคลากรสาธารณสุข เขต 12. ขอนแก่น : บริษัทเพ็ญ พรินติ้ง จำกัด; 2555.
Jauch EC, Saver JL, Adams HP Jr, Bruno A, Connors JJ, Demaerschalk BM, et al. Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke : a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/ American Stroke Association. Stroke 2013;44:870-947.
American Heart association/American Stroke Association. Target : stroke campaign manual. American Heart Association; 2014.
โรงพยาบาลวาปีปทุม. รายงานผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองประจำปีงบประมาณ 2552-2557. มหาสารคาม : โรงพยาบาลวาปีปทุม; 2557.
โรงพยาบาลวาปีปทุม. รายงานสรุปการสนทนากลุ่มเพือการพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง. มหาสารคาม : โรงพยาบาล วาปีปทุม; 2557.
Kemmis S, McTaggart R (eds.). The action research planner. Victoria, Australia : Deakin University Press; 1988.
สมศักดิ์ เทียมเก่า. การพัฒนาเครือข่าย STROKR FAST TRACK. ศรีนครินทร์เวชสาร 2556; 28 (suppl) : 315-319.
รัตนาภรณ์ ยนต์ตระกูล, นิสากร วิบูลชัย, วิไลพร พิณนาดิเลย์, จุลินทร ศรีโพนทัน, เบญจพร เองวานิช. การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนสำหรับผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ภายใต้บริบท ของโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งและเครือข่าย บริการ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560;27(2):80-95.
นันทวรรณ ทิพยเนตร, วชิร ชนะบุตร. รายงานการวิจัย เรื่องความรู้เรื่อความเสี่ยงและอาการเตือนโรค หลอดเลือดสมอง : กรณีศึกษา โรงงานทอผ้าแห่ง หนึ่ง ในจังหวัดมหาสารคาม .สาขาเวชกิจฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาสารคาม; 2559.
Fussman C, Rafferty AP, Lyon-Callo S, Morgenstern LB, Reeves MJ. Lack of association between stroke symptom knowledge and intent to call 911 : a population-based survey. Stroke 2010; 41(7):1501-7.
Duque AS, Fernandes L, Correia AF, Calvinho I , Cardoso G, Pinto M, et al. Awareness of stroke risk factors and warning signs and attitude to acute stroke. International Archives of Medicine [internet]. 2015 [citedNov 4, 2017]. Available from : https://imed. pub/ojs/index.php/iam/article/view/1236.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม