ลักษณะผลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยในกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร

ผู้แต่ง

  • กาญจนา เจริญธัญรักษ์
  • อภิรดี สิงห์แจ่ม
  • จิตติมา แสงสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทนำ : ผู้ป่วยกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร หรือ Guillain-Barré syndrome (GBS) มักมาด้วยอาการแขนขาอ่อนแรงเฉียบพลันในรายที่มีอาการรุนแรงต้องรักษาเร็วจึงจะที่มีประสิทธิภาพที่ดีการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยGBSแยกออกจากโรคที่มีอาการคล้ายคลึง ช่วยแบ่งชนิดย่อยและบอกพยากรณ์โรคได้

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะความผิดปกติของผลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยในกลุ่มผู้ป่วยGBSและจำแนกชนิดย่อยของGBSโดยใช้เกณฑ์ไฟฟ้าวินิจฉัย

รูปแบบและวิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบศึกษาข้อมูลชนิดย้อนหลังโดยทบทวนข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยในว่าเป็นGBS ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556ถึง 31ตุลาคม 2561และได้รับการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยอย่างน้อยหนึ่งครั้งระหว่างการรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่นทำการศึกษาข้อมูลทั่วไป ข้อมูลทางคลินิกเกี่ยวกับโรค GBS และข้อมูลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย

ผลการศึกษา : ผู้ป่วย GBS 94 ราย เป็นเพศชาย 52 ราย เพศหญิง 42 รายอายุเฉลี่ย 45.1 ±19.2ปี ผู้ป่วยส่วนมีอาการอ่อนแรงทั้งแขนขาร้อยละ 92.6 ชาทั้งแขนขาร้อยละ 75.5 ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบากต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร้อยละ 26.6 ค่า GBS disability score ก่อนการรักษาเฉลี่ย 3.9 ± 0.8 ค่า GBS disability score หลังรักษาเฉลี่ย  3.5 ± 1.4   มีผู้เสียชีวิต 8ราย(ร้อยละ 8.5)ผลการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยที่พบบ่อยที่สุดคือความผิดปกติในการชักนำกระแสประสาทสั่งการ87 ราย(ร้อยละ 92.6) จากผลการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ 81 ราย พบความผิดปกติที่มี axonal denervationร้อยละ29.6การจำแนก GBS ชนิดย่อยโดยใช้เกณฑ์ไฟฟ้าวินิจฉัย พบว่าชนิดที่พบบ่อยสุดคือAxonal GBSร้อยละ 51.1, Acute inflammatory demyelinating polyradiculoneuropathyร้อยละ 30.9, ไม่สามารถจำแนกเข้ากลุ่มใดได้ร้อยละ 10.6 และผลตรวจปกติร้อยละ7.4

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผู้ป่วย GBS ที่พบบ่อยในโรงพยาบาลขอนแก่นเป็นชนิด axonalGBS และการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยเร็วตั้งแต่ภายใน 7 วันแรกให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยแยกโรคและการจำแนกชนิดของ GBS

คำสำคัญ : กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร, การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย

References

McGrogan A, Madle GC, Seaman HE, de Vries CS. The Epidemiology of Guillain-Barré Syndrome Worldwide. Neuroepidemiology. 2009;32:150-63.

Kuwabara S. Guillain-Barré Syndrome. Drugs. 2004;64(6):597-610.

Fokke C, van den Berg B, Drenthen J, Walgaard C, van Doorn P, Jacobs B. Diagnosis of Guillain-Barre syndrome and validation of Brighton criteria. Brain. 2013;137(1):33-43.

Areeyapinan P, Phanthumchinda K. Guillain-Barre Syndrome: A Clinical Study in King Chulalongkorn Memorial Hospital. J Med Assoc Thai. 2010;93(10):1150-4.

Ekwitayawechnukul C. Guillain-Barre Syndrome in Lampang Hospital. Lampang Med J. 2010;31(3):105-14.

Ruengwongroj P. Electrodiagnosis study of guillain – Barré syndrome inchiangrai regional hospital. Chiangrai Medical journal. 2013;5(1):9-21.

Kulkantrakorn K, Sukphulloprat P. Outcome of Guillain–Barré Syndrome in Tertiary Care Centers in Thailand. J ClinNeuromusc Dis. 2017;19(2):51-6.

Willison H, Jacobs B, van Doorn P. Guillain-Barré syndrome. Lancet. 2016;388(10045):717-27.

Cortese I, Chaudhry V, So Y, Cantor F, Cornblath D, Rae-Grant A. Evidence-based guideline update: Plasmapheresis in neurologic disorders: Report of the Therapeutics and Technology Assessment Subcommittee of the American Academy of Neurology. Neurology. 2011;76(3):294-300.

Bae JS, Yuki N, Kuwabara S, Kim JK, Vucic S, Lin CS, et al. Guillain–Barré syndrome in Asia. J NeurolNeurosurg Psychiatry. 2014;85:905-11.

Zaitoun AM, Kamel A, Aziz SA, Azem HA, Salah H. Early Clinical and Electrodiagnostic Assessment of GuillainBarré Syndrome: Predictors for Prognosis. Egypt J NeurolPsychiatNeurosurg. 2009;46(1):169-76.

Kim CT, Strommen JA, Johns Js, Weiss JM, Weiss LD, Williams FH, et al. Neuromuscular rehabilitation and electrodiagnosis. Arch Phys Med Rehabil. 2005;86(3 Suppl 1):S28-32

Miller RG, Peterson GW, Daube JR, Albers JW. Prognostic value of electrodiagnosis in Guillain-Barré syndrome. Muscle & Nerve. 1988;11(7):769-74.

McKhann GM. Guillain-Barré syndrome: clinical and therapeutic observations. Ann Neurol. 1990;27(suppl):S13-6.

Hughes RA, Newson-Davis JM, Perkin GD, Pierce JM. Controlled trial prednisolone in acute polyneuropathy. Lancet. 1978;2:750-3.

Rajabally Y, Durand MC, Mitchell J, Orlikowski D, Nicolas G. Electrophysiological diagnosis of Guillain-Barré syndrome subtype: could a single study suffice? J NeurolNeurosurg Psychiatry. 2015;86:115–9.

Uncini A, Ippoliti L, Shahrizaila N, Sekiguchi Y, Kuwabara S. Optimizing the electrodiagnostic accuracy in Guillain-Barré syndrome subtypes: criteria sets and sparse linear discriminant analysis. ClinNeurophysiol. 2017;128:1176–83.

Amin B, Meghnathi H, Gajjar MD, Patel T, Vanani J, Gupta N et al. Impact of Electrophysiological and Clinical Variants, and Timing of Plasmapheresis on Outcome of Guillain-Barré Syndrome. J Assoc Physicians India. 2017;65(11):14-5.

Uncini A, Manzoli C, Notturno F, Capasso M. Pitfalls in electrodiagnosis of Guillain - Barré syndrome subtypes. J NeurrolNeurosurg Psychiatry. 2010;81(10):1157-63.

Uncini A, Kuwabara S. Electrodiagnostic criteria for Guillain - Barré syndrome: a critical revision and the need for an update. ClinNeurophysiol. 2012;123(8):1487- 95.

Wali A, Kanwar D, Khan SA, Khan S. Early electrophysiological findings in acute inflammatory demyelinating polyradiculoneuropathy variant of Guillain-Barre syndrome in the Pakistani population - a comparison with global data. J PeripherNerv Syst. 2017;22(4):451-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-11