ผลการเสริมพลังอำนาจแบบกลุ่มที่มีต่อพฤติกรรมผิดนัดของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลปทุมรัตต์

ผู้แต่ง

  • นฤพร ไชยวงศ์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจแบบกลุ่มต่อพฤติกรรมผิดนัดในผู้ป่วยเบาหวาน และเพื่อศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองและผลการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดก่อนและหลังเข้าร่วม

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) แบบการศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (The pretest - posttest control group design) มีโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมาตาม แนวคิดของ Miller ประชากรเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลปทุมรัตต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ ศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน เครืองมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3ประเภท คือ1).เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการ ผิดนัดของผู้ป่วยเบาหวาน 2). เครื่องมือกำกับการทดลอง คือ แบบประเมินพลังอำนาจ และ 3). เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยเบาหวาน แบบประเมินพฤติกรรมการผิดนัด แบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง และ แบบบันทึกผลระดับน้ำตาลในเลือด เก็บรวบรวมข้อมูล ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลัง อำนาจ 5 กิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ (Independent t-test)

ผลการศึกษา : 1). พฤติกรรมผิดนัดของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับ การดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2). พฤติกรรมดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริม สร้างพลังอำนาจสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3). ระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวานกลุ่ม ที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 11.52)

สรุป อภิปรายผล : การเสริมพลังอำนาจเป็นบทบาทอิสระของพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีแรงจูงใจในการรักษาซึ่ง โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ เป็นระบบ มีขั้นตอนในการช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถสร้าง แหล่งพลังอำนาจของตนเอง เพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพและสามารถเผชิญปัญหาการเจ็บป่วยของตนเองได้มากขึ้น และช่วยให้เห็นความสำคัญ และความจำเป็นของการมาตามนัด และส่งผลให้ค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลลดลงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าร่วม โปรแกรม

คำสำคัญ : การเสริมพลังอำนาจ, การพฤติกรรมผิดนัด, ผู้ป่วยเบาหวาน, พฤติกรรมดูแลตนเอง, ระดับน้ำตาลในเลือด 

References

สมาคมโรคเบาหวาน. [อินเทอร์เน็ต]. ; 2559). [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พ.ค.2559].จาก http://www.diabassocthai.org/ statistic/1558.

Miller, F. Judith. Coping with Chronic Illness Overcoming Powerlessness. 3rded. Philadelphia : F.A. Davis Company; 2000.

Kieffer, C. H. Citizen empowerment : A developmental perspective. Journal Prevention in Human Service, 3 (1), 9 - 36;1984.

Cohen, J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale NJ : Lawrence Erlbaum; 1988.

เยาวภา พรเวียง. สรุปผลการดำเนินงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเครือข่ายชุมชนบ้านโฮ่ง.รายงานประจำปีงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง; 2554.

บุญใจ ศรีสถิตยนรากูร. การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกกลุ่มมหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต โดยใช้ระยะเวลาศึกษาภายในสองปีการศึกษาและมากกว่าสองปีการศึกษา. วารสารการศึกษาพยาบาล, 16 (1),71 - 78; 2547.

Spreitzer, G. M. Psychological Empowerment in the Workplace Dimension, Measurement and Validation. Academy of Management Journal 38 : 1442 - 1465; 1995.

Mueser KT, Bond GR, Drake RE, Resnick SG. Model of community care for severemental llness: A review of research on case management.Schizophr Bull : 24 : 37 - 74; 1998.

สมจิต หนุเจริญกุล.การดูแลตนเอง. ศาสตร์และศิลปะทางการพยาบาล, กรุงเทพฯ : วี.เจ.พริ้นติ้ง; 2536.

Bling,S.,&Suen,M.A Model of empowerment for Hong Kong chicness cancer patient and the role of self-help group in the empowering process. Dissertation, doctoral degree in Nursing, Hong Kong Polytechnic University; 1998.

นภาพร บุญยืน. ผลของกระบวนการสร้างเสริมพลังอานาจต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ในผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย นเรศวร; 2550.

กนกพร ร่มวาปี. การสร้างเสริมพลังอำนาจในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวง อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี ปี 2557. สืบค้นวันที่ 5 กรกฏาคม 2559, เข้าถึงได้จาก http://203.157.168.8/research/index.

จงรัก รมย์นุกูล และรัตน์ศิริ ทาโต. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อค่านํ้าตาลเฉลี่ยสะสมของพระภิกษุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ 24, ฉบับที่ 3; 2556.

โรงพยาบาลปทุมรัตต์. สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลปทุมรัตต์.ศูนย์สารสนเทศ โรงพยาบาลปทุมรัตต์ : ร้อยเอ็ด; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15