กรณีศึกษาผู้ป่วยเฉพาะรายการพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

ผู้แต่ง

  • ไรจูณ กุลจิตติพงศ์

บทคัดย่อ

การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ระยะเวลาของการใส่เครื่องช่วยหายใจนานขึ้น และสาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตมากขึ้น ทีมผู้ดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจตระหนักถึงความสำคัญ และปฏิบัติการพยาบาลตามแนวทางการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างถูกต้องและต่อเนื่องจึงเป็นการป้องกันการเกิดปอดอักเสบ ลดปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น

กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 62 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการ 4 วัน ก่อนมาโรงพยาบาลผู้ป่วยไอ หายใจหอบ รักษาที่โรงพยาบาลชุมชน 3 วัน (มีประวัติAsthma มา10 ปีESRD with CAPD 2 ปี) 1 วัน ก่อนมาผู้ป่วยปวดท้อง ท้องบวมโตคลำได้ก้อนน้ำยา PDF มีลักษณะขุ่น หายใจหอบแน่นอึดอัดแพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจ ให้ยา Ceftriaxone 2 gm. IVstat, Dexamethasone 4 mg. IV ทุก 6 hr.พ่น Beradual 1NB จึง refer มา ขณะอยู่โรงพยาบาลมหาสารคามได้รับการวินิจฉัยว่า Infected CAPD withPeritonitis, Pneumonia, Respiratoryfailure.ผู้ป่วย onEndotracheal tube withvolumeventilator,  CMV mode,FiO2 0.4, setTV500 ml.RR = 20 ครั้ง/นาทีVital signs :T = 37.6 0 c,PR = 111 ครั้ง/นาที BP = 173/102 mmHg. DTX = 113 mg% , O2 sat = 100 % ให้การพยาบาลเกี่ยวกับการประเมินภาวะพร ่องออกซิเจน และดูแลผู้ป ่วยขณะใช้เครื่องช่วยหายใจเฝ้าระวังภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากใส่เครื่องช่วยหายใจการป้องกันการติดเชื้อที่เยื่อบุช่องท้องจากการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง (CAPD) และแก้ภาวะ Electrolyte imbalance ดูแลการให้ได้รับยาตามการรักษาของแพทย์ และการให้Antibiotic เป็น Meropenem 500 mg IV OD, Tienam 500 mg. ผสมในน้ำยา PDF 100 mg. จำนวน 4 cycle รักษาได้ 18 วัน อาการดีขึ้นตามลำดับแต่ไม่สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ต่อมามีไข้สูง หายใจหอบเหนื่อย T = 38.60 C,PR = 118 ครั้ง/นาที RR = 22 ครั้ง/นาที BP = 115/84 mmHg. เสมหะเหนียวข้น Sputum C/S = Acinetobacter baumannii (A.baun.) MDR (Multidrug resistance ) จึงให้Antibiotic เป็น Colistin 150 mg IV OD, Unasyn 3 gm.IV ทุก6hr.ผู้ป่วยรักษาต่ออีกเป็นเวลา7วัน อาการของผู้ป่วยเริ่มดีขึ้น เรื่อยๆ สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้จึงReferกลับเพื่อฉีดยาต่ออีก 7 วัน ที่โรงพยาบาลชุมชน รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาลมหาสารคามเป็นเวลา 28 วัน ค่ารักษาพยาบาล 170,940 บาท วินิจฉัยครั้งสุดท้ายคือ LobarPneumonia, Infected CAPD(E.ColiESBL) with Peritonitis,Respiratory failure, Septicshock, Hypokalemia, Hypomagnesaemia, VAP (A.baun. MDRSepticemia) Anemiaof chronic disease

กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 70 ปีมาด้วยอาการไข้สูง หนาวสั่นมา 7 วัน รักษาที่โรงพยาบาลชุมชน 3 วัน ให้ Ceftriaxone 2 gm. IV OD, NSS 1000 ml Iv rate 100 ml./hr. retain Foley’s ก่อนมา 1 วัน ผู้ป่วยมีไข้สูงถ่ายอุจจาระเหลวเป็นมูก มากกว่า 3 ครั้ง เหนื่อยอ่อนเพลีย 1 ชั่วโมงต่อมาผู้ป่วย ซึม เรียกไม่รู้สึกตัว ชักกระตุกตลอดแพทย์จึงใส่ท่อช่วยหายใจ และRefer มาโรงพยาบาลมหาสารคามอาการแรกรับ ตึกอุบัติเหตุฉุกเฉิน :ซึม ไม่รู้สึกตัวชักกระตุกตลอดเวลาE2VTM5,Pupil3 min เท่ากันทั้ง2ข้างT = 38.4 o c,PR = 112 ครั้ง/นาที RR = 20ครั้ง ต่อ นาทีBP = 75/61mmHg. ให้ Valium10mg. IV,Levophed 4:250rate10 ml/hr. ,Dopamine2:1rate13 ml/hr.IV, Hydrocortisone100 mg IVStat, DTX = 88 mg%, O2sat = 100% ขณะอยู่โรงพยาบาลมหาสารคามได้รับการวินิจฉัยว่า UTI, septic shock, Electrolyte imbalance, severe metabolic acidosis, Respiratory failure. ผู้ป่วย on Endotracheal tube with volume ventilator, CMV mode, FiO2 0.4, set TV 500 ml. ให้การพยาบาลเกี่ยวกับการประเมินภาวะพร่องออกซิเจน การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะซ็อค ดูแลผู้ป่วยขณะใช้เครื่องช่วย หายใจ เฝ้าระวังภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจการติดเชื้อปอดอักเสบจากใส่เครื่องช่วยหายใจและแก้ภาวะ Electrolyteimbalance ดูแลการให้สารน้ำและยาเพิ่มความดันโลหิตยาAntibioticคือ Ceftriaxone1gm. OD รักษาอยู่10วัน อาการดีขึ้นตามลำดับไม่มีไข้แต่ไม่สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้วันที่11ผู้ป่วยมีไข้สูง:T =38.4 oc,PR = 108ครั้ง/นาทีRR = 20ครั้ง/นาทีBP = 118/82 mmHg เสมหะมากขึ้น ผลตรวจ X - ray พบ Lobar Pneumonia Sputum C/S = Acinetobacter baumannii (A.baun.) จึงเปลี่ยน Antibiotic เป็น Meropenem 1g ทุก 8 hr. และ Colistin 150 mg OD ผู้ป่วยรักษาต่ออีก 8 วันก็สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้จึงreferกลับเพื่อฉีดยาต่ออีก 5 วันที่โรงพยาบาลชุมชน รวมระยะเวลารักษาในโรงพยาบาลมหาสารคาม 18 วัน ค่ารักษาพยาบาล109,503 บาท การวินิจฉัยครั้งสุดท้ายคือ UTI,Septicshock, Hypokalemia,metabolicacidosis, Acuterespiratory failure,VAP(A.baun., MDR)  พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วย ทั้ง 2 ราย นี้ได้จัดกิจกรรม 3 กิจกรรมได้แก่กิจกรรมที่1ได้นำแนวปฏิบัติการพยาบาลและการป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยใช้การประเมินตาม 7 หมวด กิจกรรมที่ 2การให้ความรู้แก่บุคลากรทุกระดับ ควบคุม กำกับ ติดตาม การปฏิบัติตมแนวทางที่กำหนดและทบทวนอุบัติการณ์และกิจกรรมที่3กรณีพบการติดเชื้อ    2 ราย ขึ้นไป มีการควบคุมการระบาดโดยการทบทวนวิธีปฏิบัติของบุคลากร ให้ได้ตามมาตรฐาน

คำสำคัญ : การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ

 

References

อะเคื้ออุณหเลขกะ. ความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 4. เชียงใหม่ : มิ่งเมืองนวรัตน์. 2554.

Centers for Disease Control and Prevention.“Guideline for preventing health - care - associated pneumonia, 2003 recommendations of the CDC and the healthcare infection control practices advisory committee” MMWR.2003;53:1-36.

Beth Augustyn. Ventilator-associated pneumonia : Risk Factors and Prevention. Critical Care Nurse2017;27:32-39.

ธฤติสารทศิลป์.ผลกระทบของการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย,19:1;2552.

โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานการป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลพ.ศ.2557. มหาสารคาม:โรงพยาบาลมหาสารคาม. (เอกสารสำเนา).

โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานการป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลพ.ศ.2558.มหาสารคาม:โรงพยาบาลมหาสารคาม. (เอกสารสำเนา).

โรงพยาบาลมหาสารคาม. รายงานการป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลพ.ศ.2559.มหาสารคาม:โรงพยาบาลมหาสารคาม. (เอกสารสำเนา)

วไลพรปักเคระกา.การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม,12:(กันยายน-ธันวาคม) 2557.

Atul Ashok Kalanuria1,Weny Zia2*, marek Mirski2. Ventilator-associated pneumonia in ICU. Critical care2014;18:208

FabianJaimesa,b,* ,Gisela DeLaRosaa , Emiliano Gomeza, Paola Muneraa, Jaime Ramireza, Sebastian Castrillna. Incidence and risk factors
for Ventilator - associated pneumonia in a developingcountry.ELSEVIERLtd.2006.08.008

Kollef, M. H.. Ventilator-associated pneumonia : A multivariate analysis. The Journal of The AmericanMedicalAssociation…..270,1960-1970

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. “แนวเวชปฏิบัติในการดูแลและป้องกันปอดอักเสบในโรงพยาบาลและปอดอักเสบที่เกี่ยวข้องกับเครื่องช่วยหายใจในผู้ใหญ่ในประเทศไทย. ร่างครั้งที่4.2549.

Pedersen C.M.,Rosendahl-NielsenbM.,Hjermindc J., EgerodI. Endotracheal suctioning of the adult intubated patient What is the evidence?. Intensivecritical care Nursing .2009;25(1) : 21-30.

World Health Organization. WHO guideline on hand hygiene in healthcare. Geneva Switzerland.2009.

Chen, E. Y. Clinical analysis of the factors associated with enteral feeding in preventing VAP : A systemic review. The Journal of Chinese Medical Association 2009; 72 (4) :171 -178.

Kompan, L.,Vidmar, G., Spindler -Vesel, & Pecar, J. Is early enteral nutrition a risk factor for gastricintoleranceand pneumonia?. Clinical Nutrition2004;23:527-532.

Munro, C. L., Grape, M. J., Jones, D. J., McClish, D.K., &Sessler. Chlohexidine; toothbrushing, and preventing ventilator-associated pneumonia in critically ill adults. American Journalof Critical Care2009;18:428-437.

Dodek,P.,Keenan,S., Cook, D., Heyland, D.,&Jacka, M.Evidence-base clinical practice Guideline
for the prevention of ventilator-associated pneumonia. AnnalsOfInternal Medicine2009; 141:305-313.

Association for Professionals in Infection Control and Epidemiology (APIC). An APIC Guide 2009 : Guide to the Elimination of Ventilator-Associated Pneumonia. From Web : www.apic.org;2009.

Muscedere, J., Dodek, P., Keenan, S., Fowler, R., Cook, D., &Heyland. D. Comparison Evidence based clinical practice guidelines for ventilator - associated pneumonia :
Prevention. Journal of Critical care. 2008; 23, 126-137.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-15