การมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการดูแลเด็กป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

ผู้แต่ง

  • จำรัสลักษณ์ เจริญแสน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างการมีส่วนร่วมและความต้องการการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กป่วย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แนวคิดการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการดูแลเด็กป่วยของเชปป์

วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive researeh) โดยเก็บรวมข้อมูลจากผู้ดูแลเด็กป่วยที่มีอายุ ระหว่าง 1 เดือน ถึง 15 ปี ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 2 และ 3 โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2561 จำนวน 85 ราย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กป่วย และผู้ดูแล แบบสอบถามการมีส่วนร่วมและความต้องการเป็นการมีส่วนร่วม ของผู้ดูแลในการดูแลเด็กป่วยขณะเข้าการรักษา ในโรงพยาบาล มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t- test และ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันในการหาความสัมพันธ์

ผลการศึกษา : การมีส่วนร่วมและความต้องการ การมีส่วนร่วมของผู้ดูแลในการดูแลเด็กป่วยโดยรวมและด้านกิจกรรม การพยาบาล ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ดูแลกับบุคลากรพยาบาล และด้านการตัดสินใจในการดูแลแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลพบว่าประสบการณ์ ในการดูแลเด็กป่วยเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนปัจจัยด้านอายุของเด็ก อายุของผู้ดูแล ระดับการศึกษาของผู้ดูแล การรับรู้ความรุนแรงของโรค และความ สัมพันธ์ของผู้ดูแลกับเด็กไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)

สรุปและข้อเสนอแนะ : พยาบาลควรศึกษาและคำนึงถึงความต้องการและปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการการมีส่วนร่วม ในการดูแลเด็กป่วยของผู้ดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กป่วยขณะรับการรักษาในโรงพยาบาล อย่างเหมาะสม ตามความต้องการ ซึ่งจะส่งผลให้การพยาบาลผู้ป่วยเด็กมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คำสำคัญ : การมีส่วนร่วมของผู้ดูแล ความต้องการการมีส่วนร่วมของผู้ดูแล เด็กป่วยในโรงพยาบาล

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2556.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2557.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2558.

Lau, B.W. Stresses in children: Can nurses help.Pediatric Nursing , 2002 ; 28(1) : 13-19.

ฐิติมา สุขเลิศตระกูล, สุธิศา ล่ามช้าง, อรพินท์จันทร์ปัญญาสกุล, และปรีชา ล่ามช้าง. ความต้องการของผู้ปกครองเด็กที่ติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. พยาบาลสาร, 2552; 36(2) : 81-94.

Kristensson-Hallstrom, I. Parental participationin pediatric surgical care. Association of perioperative Registered Nurses [AORN] Journal : 2000 ; 71(5) 1021-1033.

Schepp, K. Psychometric assessment of the preferred participation scale for parent of hospitalized children. Unpublished manuscript,University of Washington, School Of Nursing, Seattle, WA. ; 1995.

ณิชกานต์ ไชยชนะ. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กที่มีความเจ็บป่วยขณะรับการรักษาในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชากุมารเวชศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2545.

Lam, L. W., Chang, A. M., & Morrissey. Parents’ experience of participation in the care of hos pitalized children: A qualitative study. International Journal of Nursing Studies, 2006 ; 43(5) : 535-545.

แขนภา รัตนพิบูลย์, ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล, และอัจฉรียาปทุมวัน. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กป่วยขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 2554 ; 17 (12) 232-247.

Pongjaturawit, Y. Parent participation in the care of hospitalized young children. Doctoral dissertation, Chaingmai University ; 2005 :Thailand.

Melnyk, B. M., & Feinstein, N. F. Mediating functions of maternal anxiety and participation in care on young children’s post hospital adjustment. Research in Nursing & Health 2001;24(1) : 18-26.

ธันยมนย์ วงษ์ชีรี. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลเด็ก, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย บูรพา; 2554.

นิตยา ไทยาภิรมย์. ผลกระทบของความเจ็บป่วยและการอยู่โรงพยาบาลต่อตัวผู้ป่วยเด็ก ครอบครัวและชุมชน. เชียงใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-19