บทความวิจัย การศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล HA (Hospital Accreditation) จังหวัดอำนาจเจริญ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล HA (Hospital Accreditation) ในจังหวัดอำนาจเจริญ
วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากแผนปฏิบัติการและรายงานผลการดำเนินงานประจำำปี จากข้อมูลสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ในส่วนข้อมูลปฐมภูมิ ได้จากการสอบถามทีมพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลด้วยระบบพี่เลี้ยง (Quality Learning Network) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 65 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่าง อย่างง่าย จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) = 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา : กระบวนการพัฒนา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2550 ได้จัดทำคู่มือบันไดขั้นที่ 1 สู่ HA เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาให้กับโรงพยาบาล ซึ่งมีการประชุมติดตามและจัดทีมลงไปกระตุ้นและชี้แนะการพัฒนา ระยะที่ 2 ช่วงปี พ.ศ. 2551 - 2555 จัดทำโครงการพัฒนาเข้ม ระยะที่ 3 ช่วงปี พ.ศ. 2556 - 2560 โรงพยาบาลผ่านการ รับรอง HA ครบทั้ง 7 แห่ง ในปี 2556 ส่งผลให้ได้รับรางวัล Provincial Success ในระดับประเทศ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยระบบพี่เลี้ยง โดยศึกษาความคิดเห็นของทีมพัฒนาคุณภาพในระบบพี่เลี้ยง พบว่า การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลด้วยระบบพี่เลี้ยงได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา และมีความคุ้มค่ากับเงินงบประมาณอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในกระบวนการพัฒนาระบบพี่เลี้ยงในระดับมาก ความคิดเห็นด้านกระบวนการพัฒนาและผลของกระบวนการพัฒนาต่อโรงพยาบาลและการให้บริการ อยู่ในระดับมาก ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จในด้านต่างๆ ของโรงพยาบาลระดับมากและมีการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล HA ด้วยระบบพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง จนสามารถได้รับโล่รางวัล Provincial Success
คำสำคัญ : การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล HA, การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลระบบพี่เลี้ยง
References
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550.ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 15 - 23. 24 สิงหาคม, 2550.
กัลยาณี สุเวทเวทิน และขนิษฐา พงษ์ศักพิบูรณ์.การประเมินผลการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล HA และ HNQA จังหวัดอำนาจเจริญ ประจำปี 2552. รายงานการวิจัย. สำนักงานสาธารสุขจังหวัดอำนาจเจริญ, 2553. (เอกสารอัดสำเนา)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 15. 6 เมษายน; 2560.
พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พุ.ศ. 2545. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 119 ตอนที่ 116 ก. หน้า 3. 18 พฤศจิกายน; 2545.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). HA 2017 UPDATE. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 18 14 – 17 มีนาคม 2560 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานีนนทบุรี:บริษัทหนังสือดีวัน จำกัด; 2560.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ. รายงานผลการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล HA ประจำปี 2546 - 2560. เอกสารอัดสำเนา.
จิรานีย์ สายสนั่น ณ อยุธยา. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหาร จัดการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2556.
เตือนใจ แสร์สินธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการพยาบาล. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2556.
จิตศิริ ขันเงิน. การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น ;2547.
ธีรวิทย์ ตั้งจิตไพศาล. การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลกรณีศึกษาสถาบันบำราศนราดูร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐสาสตร์.อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2553.
สิริรัตน์ เหลืองโสมนภา. ความคิดเห็นต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดยะลา.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี;2552.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม