การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขับรถพยาบาลจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • กัญตา คำพอ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขับรถพยาบาลจังหวัดมหาสารคาม

วิธีการศึกษา : เป็นวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงานขับรถพยาบาลของโรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 94 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยของพนักงานขับรถพยาบาล แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง หาค่าความเที่ยงใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของคอร์นบาค เท่ากับ 0.8ต แบบสอบถามคุณภาพชีวิตการทำงาน หาค่าความเที่ยงใช้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของคอร์นบาค เท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา : ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 41-50 ปี (ร้อยละ 35.1 ) มีสถานะสมรส (ร้อยละ 77.7 )  มีระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย (ร้อยละ 57.4 ) มีรายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท (ร้อยละ 74.5 ) ประสบการณ์ในการขับรถ 11-15 ปี (ร้อยละ 31.9 ) ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถพยาบาล (ร้อยละ 74.47) พนักงานขับรถพยาบาลให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของรถก่อนใช้งาน มีการคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ขับรถ สามารถปฏิบัติตามกฎจราจรทุกครั้งที่ขับรถพยาบาล (ร้อยละ 100)  มีการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจก่อนปฏิบัติงาน (ร้อยละ 70.2 ) และขับรถพยาบาลด้วยความเร็ว ไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ร้อยละ 97.9 )   ส่วนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองของพนักงานขับรถพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 3.53, SD = .43) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริโภคอาหารและยา ในอยู่ระดับมาก( gif.latex?\bar{x} = 3.76, SD = .59) และด้านการจัดการความเครียดอยู่ในระดับน้อย ( gif.latex?\bar{x} = 2.29, SD = .77) คุณภาพชีวิตการทำงาน โดยรวมในระดับมาก( gif.latex?\bar{x} = 3.79, SD = .69) เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่า ด้านความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน ในระดับมาก( gif.latex?\bar{x} = 4.15, SD = .67) รองลงมาด้านความมั่นคงและความก้าวหน้า ในระดับมาก( gif.latex?\bar{x} = 3.89, SD = .79) และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x} = 3.33, SD = .98)  ในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองกับคุณภาพชีวิตการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ 0.479 และรายด้านทีมีความสัมพันธ์ในลำดับแรกคือ ด้านการตรวจรักษาสุขภาพ (r=0.458, p<.01) รองลงมาคือ ด้านการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ( r=0.454, p<.01) สำหรับด้านที่มีความสัมพันธ์ในลำดับสุดท้ายคือ ด้านการจัดการความเครียด (r=0.203, p<.05 )

สรุป : แสดงให้เห็นพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองกับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขับรถพยาบาลจังหวัดมหาสารคาม มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี ซึ่งข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถพยาบาล

คำสำคัญ : พฤติกรรม,การดูแลสุขภาพ,คุณภาพชีวิต

References

ภารณี วสุเสถียร.ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติตามมาตรการ รถพยาบาลปลอดภัย ของ พนักงานขับรถพยาบาล เขตสุขภาพที่ 6. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 35; 2561 (1) :65-76.

กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักงาน.ทิศทางเป้าหมายและยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2555– 2564) :3-5.

Oliver, J.P.J. et al. Quality of Life and Mental Health Service. London: Routledge ; 1996.

ลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ A Theory of Human Motivation. URL: https://th.wikipedia.org (สืบค้นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2562)

สุรินธร กลัมพากร และคณะ. การสร้างเสริมสุขภาพวัยทํางาน. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 2555; 26 (2) : 14–21.

เฉลิมขวัญ เมฆสุข และ ประสพชัย พสุนนท์.ปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท สยามฟิตติ้งส์ จำกัด.วารสารธุรกิจปริทัศนี ,2560 ; 9 (1)

กฤษฎา พงษ์รื่น. คุณภาพชีวิตการทํางาน กรณีศึกษา : พนักงานขับรถ พนักงานคุ้มกัน และหัวหน้า ประจํารถยนต์ กันทรัพย์สินมีค่าแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครฯ. คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ; 2550.

นิรมล กุลพญา. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการท างานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในธุรกิจน้ำอัดลม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ;2556.

มงคล การุณงาม พรรณ. พฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพของคนทำงานใน สถานประกอบการเขตเมืองใหญ่: กรณีศึกษาพื้นที เขตสาทร กรุงเทพมหานคร.ว.พยาบาลสงขลานครินทร์ .2555;32 (3) :55-65

Suesatdee K. Quality of working life and performance effectiveness of stenographer official of Secretariat of The House of Representatives [dissertation]. Bangkok: Krirk University ; 2014

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-07-24