กระบวนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • วิเลิศ วรรณทิพย์
  • ทรงศักดิ์ จีระสมบัติ
  • อุดร อรกุล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องจำเป็นของการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม  เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม และเพื่อนำกระบวนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติและประเมินผล

วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เก็บรวบรวมข้อมูลจากคณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกสภาเทศบาลตำบล ครู นักเรียน พระภิกษุ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลธงธานี  คณะกรรมการสถานศึกษา และหัวหน้าครัวเรือน จำนวน 289 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามสภาพปัจจุบันปัญหาและแบบสอบถามสภาวะแวดล้อมที่ดี  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ paired t-test

ผลการศึกษาพบว่า : 1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องจำเป็นของกระบวนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมในเขตเทศบาลตำบลธงธานีด้านการเก็บรวบรวมการขยะ พบว่า ตัวแทนครัวเรือนส่วนใหญ่เห็นว่ามีการเก็บรวบรวมโดยกองทิ้งไวนอกบริเวณบ้าน (ร้อยละ 98.80)  สมาชิกในครัวเรือนมีส่วนร่วม (ร้อยละ 83.70)  การมีส่วนร่วมในโครงการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมขยะ (ร้อยละ 79.20) มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในชุมชน (ร้อยละ 84.40) เทศบาลรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมขยะ (ร้อยละ 79.20) และเทศบาลมีบทบาทสำคัญในการเก็บรวบรวมขยะ (ร้อยละ 86.20)  ด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย พบว่า ตัวแทนครัวเรือนส่วนใหญ่เห็นว่า ครัวเรือนคัดแยกขยะก่อนนำไปกำจัดเพื่อนำขยะมูลฝอยบางส่วนไปขาย (ร้อยละ 85.80) มูลฝอยที่ปริมาณมากที่สุด คือ เศษอาหาร ผัก และผลไม้ (ร้อยละ 82.7) และชุมชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ (ร้อยละ 84.40) ด้านการกำจัดขยะมูลฝอย พบว่า ตัวแทนครัวเรือนส่วนใหญ่เห็นว่า เทศบาลควรมีบทบาทสำคัญในการกำจัดขยะ จำนวน 246 คน (ร้อยละ 85.10) เทศบาลรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ความเดือดร้อนจากการกำจัดขยะมูลฝอยในชุมชน จำนวน 224 คน (ร้อยละ 77.50) และพบว่า ตัวแทนครัวเรือนส่วนใหญ่เห็นว่าปัญหาการจัดการขยะ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.26, SD.= 0.18) 2) กระบวนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ (1) การรับรู้ปัญหา (2) ขั้นการคิดวิเคราะห์ (3) ขั้นการวางแผนแก้ไขปัญหา  (4) ขั้นการปฏิบัติตามแผน และ (5) ขั้นประเมินผล ซึ่งกระบวนมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.44, SD.= 0.20) 3) กลุ่มเป้าหมายในหมู่บ้านทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสภาวะแวดล้อมที่ดีในชุมชนด้านความรู้ ทัศนคติ การมีส่วนร่วม และพฤติกรรมการจัดการขยะโดยรวมเพิ่มขึ้น มากกว่า หมู่บ้านเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) และกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อกระบวนการอยู่ในระดับมาก (M = 4.32,SD.= 0.12)

สรุปและข้อเสนอแนะ : กระบวนการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ทัศนคติ การมีส่วนร่วม และพฤติกรรมการจัดการขยะเพิ่มขึ้น ดังนั้น  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้

คำสำคัญ : การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม,  สภาวะแวดล้อมที่ดี

References

กรมควบคุมมลพิษ.คู่มือการจัดการขยะมูลฝอยและเทคโนโลยีการแปรรูปขยะมูลฝอย ให้เป็นพลังงานสำหรับท้องถิ่น, กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ; 2557.

เทศบาลตำบลธงธานี. รายงานสถานการณ์การจัดการขยะในเทศบาลตำบลธงธานี. จังหวัดร้อยเอ็ด; 2558.

วินัย วีระวัฒนานนท์. สิ่งแวดล้อมศึกษา: การศึกษาเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้และการพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 3,กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์; 2546.

อัญญาลักษณ์ ไชยพงษ์ และพิมาน ธีระรัตนสุนทร. การศึกษาระบบการจัดการ : ขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม. 17 (2): 2558 ; 29-43.

จันทร์เพ็ญ มีนคร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลบางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2554.

แก่นฟ้า แสนเมือง. การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อผลิตก๊าซหุงต้มของชุมชนศีรษะอโศกจังหวัดศรีสะเกษ.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4 (1) : มกราคม-มิถุนายน 2556

อมรรัตน์ ช่างฉาย. รูปแบบการพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย ของผู้ประกอบการร้านค้าตลาดโรงเกลือ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว . รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัยระดับชาติและนานาชาติ กลุ่มระดับชาติ ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6 (2): 2557.

สมบูรณ์ อำพนพนารัตน์ และคณะ. แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านกลาง จังหวัดลำพูน ทีมนักวิจัย ด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม. โครงการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม; 2554.

นงกต สวัสดิชิตัง, กฤตติกา แสนโภชน์, ประจญ กิ่งมิ่งแฮ และสืบชาติ อันทะไชย. การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์,2557; 3 (1): 47-64.

Volk, Trudi L and Cheap, Marie J. Online Available: http://highbeam.com/journal of Environment /June 22, 2003/t. Retrieve December 28, 2004.

สุรศักดิ์ หันชัยศรี. กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลฆ้องชัยพัฒนาอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชา สิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.

ไพจิตร วสันตเสนานนท์ และคณะ. การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนบ้านเมืองบัวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนา เชิงพื้นที่, 1 (3), 2552. 15-26

สุณีรัตน์ ยั่งยืน และคณะ. การวิจัยแบบมีส่วนร่วมในการจัดการธนาคารขยะของชุมชนบ้านหัวหนอง ตำบลขามเรียงอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2556.

รัตนาภรณ์ พุฒิเปรมเดช. การบริหารจัดการขยะมูลฝอยบริเวณสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเลย จังหวัดเลย ; 2553.

สมคิด ทับทิม. การจัดการขยะด้วยการมีส่วนร่วมของคนเก็บขยะในเขตเมืองของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-02