ประสิทธิผลของการดูแลผู้ป่วยโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางต่อการควบคุม ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน
บทคัดย่อ
บทนำ : โรคเบาหวานเป็นปัญหาที่สำคัญของระบบสาธารณสุข การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ เหมาะสมช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ แต่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ผ่านมายังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการโดยใช้หลักการการรักษาโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เพื่อช่วยให้การควบคุม เบาหวานทำได้ดีขึ้น
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการใช้หลักการ Patient centered care ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานที่รักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล
วิธีการศึกษาและการดำเนินงาน : การศึกษาแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study, non-randomize pre-test and post-test design) ในผู้ป่วยเบาหวานที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในช่วง เวลา 1 มีนาคม 2561 ถึง 1 มีนาคม 2562 โดยวัดผลการควบคุมโรคเบาหวานจากการประเมินระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (HbA1C) เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ โดยใช้หลักสถิติ Paired T-Test
ผลการศึกษา : จำนวนผู้ป่วยที่เข้าสู่การศึกษามีจำนวน 44 คน อายุเฉลี่ย 61.55 ปี (± 10.01 SD) ส่วนใหญ่เป็นเพศ ชาย 31 คน (70.45%) กลุ่มอายุน้อยกว่า 65 ปี มีจำนวน 30 คน (68.18%) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการปรับ รูปแบบการให้บริการพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงจาก 8.76 มาอยู่ที่ 7.95 (p = 0.003 , 95% CI 0.29 to 1.33)
สรุปผลการศึกษา : ผลจากการปรับเปล่ยนรี ูปแบบการให้บริการ มีผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของ ผู้ป่วยเบาหวานดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยที่ยังควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้นั้น มีแนวโน้มดีขึ้น
คำสำคัญ : Diabetes mellitus, HbA1C, Patient centered care, Community
References
วิชัย เอกพลากร และคณะ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5. สืบค้นจาก https:// www.hiso.or.th/hiso5/report/sreport.php?m=4 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562.
Annual Epidemiological Surveillance Report 2017. กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา กระทรวง สาธารณสุข; สืบค้นจาก https://apps.boe.moph.go.th/boeeng/annual.php เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562
Somkiat Potisat et al. A 4 year prospective study on long-term complications of Type 2 Diabetic patients. The Thai DMS Diabetes Complications (DD.comp.) Project. Journal of Medical Association Thailand. 2013; 96(6): 637–43.
Janet L. Leasher et al. Global estimates on the number of people blind or visually impaired by diabetic retinopathy: A meta-analysis from 1990 to 2010. Diabetes Care. 2016; 39(9):1643–9.
Liang Chen et al. Effect of lifestyle intervention in patients with type 2 diabetes: A meta-analysis. Metabolism. 2015(64):338–47.
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. สืบค้นจาก http:// www.rcpt.org/index.php/home.html สืบค้นเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2562
Patcharaporn Sudchada et al. Diabetes and cardiovascular risk factor controls in Thai type 2 diabetes with no history of cardiovascular complications; situation and compliance to diabetes management guideline in Thailand. J Diabetes Complications. 2012(26):102–6.
Napaporn Sowattanangoon et al. The influence of Thai culture on diabetes perceptions and management. Diabetes Res Clin Pract. 2009(84):245–51.
J E Epping-Jordan et al. Improving the quality of health care for chronic conditions. BMJ Qual. 2004(13):299–305.
สายพิณ หัตถีรัตน์. ทักษะการดูแลโดยให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง. In: คู่มือหมอครอบครัวฉบับสมบูรณ์.
Kellie M. Rodriguez. Intrinsic and Extrinsic Factors Affecting Patient Engagement in Diabetes Self-Management: Perspectives of a Certified Diabetes Educator. Clin Ther. (35):170–8.
Martha M. Funnell and Robert M. Anderson. Empowerment and Self-Management of Diabetes. Clin DIABETES. 2004(22):123–7.
L. Jutterström. Nurse-led patient-centered self-management support improves HbA1c in patients with type 2 diabetes—A randomized study. Patient Educ Couns. 2016(99):1821–9.
Somjit Prueksaritanond et al. Type 2 Diabetic Patient-Centered Care. J Med Assoc Thail. 2004(87):345–52.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม