ประสิทธิผลของการฝังเข็ม ร่วมกับการรักษาแบบอนุรักษ์ ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
บทคัดย่อ
ความเป็นมา : โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติ และเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพในผู้สูงอายุ ที่ส่งผลทำให้เกิดความพิการในที่สุด ในส่วนของการรักษาแบบอนุรักษ์ เป็นที่ยอมรับถึงประสิทธิผลของการฝังเข็มในโรคข้อเข่าเสื่อมในระดับหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่มักทำการศึกษาในต่างประเทศ ในขณะที่ประเทศไทยมีการศึกษาน้อยมาก และมักทำการศึกษาเฉพาะในกลุ่มเดียว
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝังเข็มร่วมกับการรักษาแบบอนุรักษ์ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบอนุรักษ์เพียงอย่างเดียว
วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาแบบ Randomized controlled trial กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นผู้ป่วยที่เข้ามารักษาในแผนกผู้ป่วยนอกกลุ่มงานศัลกรรมออร์โธปิดิกส์ และกลุ่มงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู โดยใช้ Modified total WOMAC scale จำนวน 80 ราย วิเคราะห์ทางสถิติใช้ Paired T-Test ในการเปรียบเทียบกลุ่มเดียวกัน และใช้ Mann-Whitney Test เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม
ผลการศึกษา : จากการเปรียบเทียบในกลุ่มตัวอย่างข้อมูลพื้นฐานระหว่างกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน และพบทั้งสองกลุ่ม มีอาการปวดลดลง ข้อฝืดตึงลดลงและการใช้งานในภาพรวมดีขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ถ้าหากเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม หรือถ้าเทียบกับกลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบอนุรักษ์เพียงอย่างเดียว จะพบว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษาแบบอนุรักษ์ควบคู่กับการฝังเข็ม ลดอาการปวดได้และอาการดีขึ้น ข้อฝืดตึงลดลงส่งผลให้ใช้งานได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : จะเห็นได้ว่าการฝังเข็มร่วมกับการรักษาแบบอนุรักษ์ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมมีประสิทธิผลในแง่ของการลดปวด ลดข้อฝืดตึง และเพิ่มการใช้งานได้ดีกว่า ถ้าเทียบกับการรักษาแบบอนุรักษ์เพียงอย่างเดียว
คำสำคัญ : โรคข้อเข่าเสื่อม, การฝังเข็ม, การรักษาแบบอนุรักษ์
References
Ng MM,Lrung MC, Poon DM. The effects of electro-acupuncture and transcutaneous electrical nerve stimulation on patients with painful osteoarthritic knees: a randomized controlled trial with follow-up evaluation. J Altern Complement Med. 2003;9 (5):641-9.
Berman BM, Singh BB ,Lao L, Langenberg P , Li H ,Hadhazy V, Bareta J, Hochberg M. A randomized trial of acupuncture as an adjunctive therapy in osteoarthritis of the knee.Rheumatology ( Oxford ). 1999: 38:346-54.
Christensen BV, Iuhl IU , Vilbek H , Bulow HH , Dreijer NC , Rasmussen HF. Acupuncture treatment of severe knee osteoarthrosis: a Long-term study. Acta Anaesthesiol Scand . 1992;36:519-25.
Cheng DC.100 Diseases treated by single point of acupuncture and moxibustion. Beijing Foreign Languages Press; 2001
Taechaarpornkul W, Suvapan D, Theppanom C, Chanthipwaree C, Chirawatkul A Comparison of the effectiveness of six and two acupuncture point regimens in osteoarthritis of the knee : a randomisrd trial . Acupunct Med.2009 ; 27: 3-8
วิภาวดี ลิ้มภักดี และคณะ. การศึกาาประสิทธิผลการ ฝังเข็ม 1 ครั้ง ทุก 2 สัปดาห์ เพื่อบำบัดอาการปวดใน ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร, 2557; 24 (1) : 5-12
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม