ผลของการใช้แนวทางการรักษามาตรฐาน กับแนวทางการป้องกันและรักษา การติดเชื้อที่พัฒนาขึ้นใหม่ ต่อภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด

ผู้แต่ง

  • ชลดา ฤทธิ์วีระเดช

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวทางการป้องกันและรักษาที่พัฒนาขึ้นใหม่กับการรักษามาตรฐานเดิมต่อภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เทียบก่อนหลังใช้แนวทางการป้องกันและรักษาภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด ที่มีภาวะติดเชื้อที่มารับบริการที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จำนวน 40 ราย โดย 29 ราย ใช้แนวทางการรักษาเดิม (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 –28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561) และ 11 ราย  ได้รับแนวทางการป้องกันและรักษาที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ (ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561 – 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2561) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ข้อมูลทั่วไปใช้ ร้อยละและสถิติ Chi-Square Test  เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 กลุ่ม กำหนดค่าความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ค่า  p-value < 0.05    

ผลการศึกษา : ผลจากการใช้แนวทางการรักษาภาวะติดเชื้อทารกแรกเกิดในระยะแรก ลดลงจาก 60 ต่อทารกเกิดมีชีพ 1,000 ราย  เป็น 25 ต่อทารกเกิดมีชีพ 1,000 ราย อุบัติการณ์การติดเชื้อทารกแรกเกิดระยะหลัง ลดลงจาก 2.07 ต่อทารกเกิดมีชีพ 1,000 ราย เป็น 0 คน เมื่อเทียบระหว่าง 2 กลุ่มพบว่า อัตราความสำเร็จในการให้ยาปฏิชีวนะทางเส้นเลือดดำภายใน 1 ชั่วโมง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ Chi-Square(1)  = 18.43,p = 0.00(p ꓿ 0.00 ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาล (p-value =  0.50) และจำนวนวันนอน (p-value =  0.52) ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่มีแนวโน้มลดลง

สรุปผล : แนวทางการรักษาที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถที่จะนำมาใช้ ในบริบทของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อและโรงพยาบาลชุมชนอื่นๆ เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิดระยะแรก เนื่องจากเข้าถึงการรักษาได้รวดเร็วมากขึ้น ช่วยลดวันนอนและค่าใช้จ่ายได้

คำสำคัญ :  การติดเชื้อในทารกแรกเกิดระยะแรก ,การได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง, ประสิทธิผล  

References

Bang AT, Bang RA, Bactule SB, Reddy HM, Deshmukh MD. Effect of home-based neonatal care and management of sepsis on neonatal mortality: field trial in rural India. Lancet ,1999 ; 354 :1955-61.

Boyer KM, Gotoff SP. Prevention of early-onset neonatal group B streptococcal disease with selective intrapartum chemoprophylaxis. N Engl J Med, 1986 ;314: 1665–9.

Jennifer R. Verani, Prevention of Perinatal Group B Streptococcal Disease Revised Guidelines from CDC, 2010 ; (59 )

Richard A. Polin and the committee on fetus and newborn. Management of neonatal with suspected or proven early –onset bacterial sepsis.Pediatrics, 2012 ;129 :1006-1015.

Alan L. Davis, et al. American collage of critical care medicine clinical practice parameter for Hemodynamic support of pediatric and neonatal septic shock. Critical care medicine and Wolters Kluwer Health , 2017; 45 : 1061-1093.

Sunanta Jindarut. The Risk Factors, Clinical Manifestations, Diagnostic Testing, and Treatments of Neonatal Sepsis in Infants Born at U-Thong Hospital, Suphanburi. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 2558 ;1 : 28-41.

ชูวัฒนา ชาระ. ปัจจัยในหญิงตั้งครรภ์ที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในกระแสโลหิตของทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลคนรพนม, 2558; 2(1): 15-27.

อรภัทร วิริยอุดมศิริ . อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิดระยะแรก ที่คลอดในโรงพยาบาลประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารควบคุมโรค, 2558:41(3):219-26.

ศรัญญา ศรีจันทร์ทองศิริ และคณะ. ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. Journal of Public Health,2558 ; 45 (3):256-70.

ศิริสุดา อัญญะโพธิ์. การติดเชื้อทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 4, 2558 ; 17(3) : 174-82.

Alecia Thompson-Bbranch and Thomas Havernek. Neonatal Hypoglycemia. Pediatrics in review,2017;38;147.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-04