การพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลถึงบ้าน

ผู้แต่ง

  • บรรจง จาดบุญนาค

บทคัดย่อ

ความเป็นมา : การดูแลระยะเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ   ที่รับไว้รักษาใน โรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยสูงอายุและญาติผู้ดูแลเกิดความมั่นใจว่าในระยะเปลี่ยนผ่านจาก โรงพยาบาลถึงบ้านมีความปลอดภัย

 วัตถุประสงค์ :  เพื่อศึกษาการพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ ติดเตียงระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลถึงบ้าน

วิธีดำเนินการศึกษา : เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ระยะที่1 ศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลถึงบ้าน โดยการทบทวนข้อมูลจาก   เวชระเบียน และการสนทนากลุ่ม 2 กลุ่ม คือกลุ่มญาติหรือผู้ดูแลและกลุ่มพยาบาลวิชาชีพและสหวิชาชีพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาด้วยสถิติร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหาระหว่าง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 ถึง   เดือนมกราคม พ.ศ. 2560

ผลการศึกษา :  การพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลถึงบ้าน กลุ่มตัวอย่างจากการทบทวนเวชระเบียนจำนวน 52 ราย ทุกรายจำเป็นต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างญาติผู้ดูแลจำนวน 7 คน ต้องการความรู้และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงเพื่อให้มีความปลอดภัยและต้องการที่ปรึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดูแล กลุ่มพยาบาลและสหวิชาชีพ จำนวน 29 คน ต้องการมาตรฐานการดูแลและแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนโดยการมีส่วนร่วมของสหวิชาชีพ มีการสื่อสารข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและครบถ้วน  ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลถึงบ้าน ได้นำข้อมูลที่สังเคราะห์ได้ในระยะที่ 1 ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม รวบรวมข้อคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาปรับปรุงให้เหมาะสม ซึ่งโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลถึงบ้าน ประกอบด้วย การระบุตัวผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการกลับเข้ารักษาซ้ำในโรงพยาบาลและมีความซับซ้อนในการดูแลที่บ้าน มีการกำหนดนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีพยาบาลผู้ประสานงานในการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านทุกระดับสถานบริการ มีการเตรียมความรู้และทักษะผู้ดูแล ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเนเลอร์(Nayler)การดูแลระยะเปลี่ยนผ่านต้องมีการวางแผนจำหน่ายตั้งแต่แรกรับรักษาไว้ในโรงพยาบาลหรือภายใน 48 ชั่วโมงหลังรับไว้ในโรงพยาบาล มีมาตรฐานและกระบวนการวางแผนจำหน่ายและระบบการส่งต่อโดยมีผู้ประสานงานการวางแผนจำหน่าย มีแบบบันทึกหรือเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อการสื่อสารโดยเฉพาะกับผู้ดูแลผู้ป่วย      จึงเป็นโปรแกรมที่สอดคล้องกับความต้องการดูแลต่อเนื่องระยะเปลี่ยนผ่านสำหรับผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง

คำสำคัญ : ผู้ป่วยสูงอายุติดเตียง,การดูแลระยะระยะเปลี่ยนผ่าน

References

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.สารประชากร มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2558. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม;2558.

สุทธิชัย จิตพันธ์กุล.หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ;2554

Graf,C.Functional decline in hospitalized older adults.American Journal of Nursing,106;58-68;2006.

Wakefield,B,J.,&Holman,J.E.Functional trajectories associated with hospitalization in older adults.Western Jounal of Nursing Research, 2007;29 (2):166-177.

วันเพ็ญ พิชิตพรชัย และอุษาวดี อัศดรวิเศษ.การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย : แนวคิดและการประยุกต์ใช้กรุงเทพฯ : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล;2554

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.รายงานสถิติประชากรจังหวัดมหาสารคาม; 2559.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล.มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองศิริราชสมบัติครบ 60 ปี. เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2559 จากhttp://www.ha.or.th/ha2010/upload/process Basic/html files/78-5583-0.pdf

Naylor, M. D., Brooten, D., Campbell, R., Jacobson,B.S.,Mesey,M.D.,Pauly,M.V.,etal. Comprehensive discharge planning and home follow-up of hospitalized elders:A randomized Clinical trail.Journal of the American Medical Association,1999;281(7):613-620;1999.

Naylor,M. D., Brooten, D. A., Campbell, R. L.,Maislin, G., McCauley, & Schwartz, J. Transitional care of older adults hospitalized with heart failure:A randomized, controlled;2004.

Covinsky,K.E.,Palmer,R.M.,Fortinsky,R.H.,Counsell,et al.Loss of independence in activities of daily living in older adults hospitalized with medical illnesses:Increased vulnerability with age Journal of American Geriatic Society, Creditor,M.C.(1993),2003 ; 51(4) :451- 458.

ประคอง อินทรสมบัติ และคณะ.การดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่รับรักษาไว้ในโรงพยาบาลอย่างครบวงจรและต่อเนื่อง:การดูแลระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน Rama Nurse J, 2013;19(2):194-205.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-08