การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง โรงพยาบาลมุกดาหาร
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง โรงพยาบาลมุกดาหาร
วิธีการดำเนินการวิจัย : เป็นการศึกษาและพัฒนา (Research and development) ประชากรศึกษาจำนวน 100 คนประกอบด้วย แพทย์จำนวน 2 คน พยาบาลวิชาชีพ 8 คนพยาบาลปฏิบัติการ 30 คนที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลมุกดาหาร ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 30 คนและผู้ดูแลผู้ป่วยหลัก 30 คน ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนพฤศจิกายน 2562 โดยใช้แนวคิดหลักฐานเชิงประจักษ์ในการพยาบาล ของซูคัพ (Soukup) ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ศึกษาสถานการณ์ สืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ พัฒนาแนวปฏิบัติและทดลองใช้ กับกลุ่มเป้าหมาย และประเมินผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจัดกลุ่มเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลลัพธ์หลังการพัฒนามีการใช้สถิติ Dependen t-test
ผลการวิจัย : การพัฒนาแนวปฏิบัติพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคองแบ่งเป็น 4 ระยะคือ 1. ระยะศึกษาสถานการณ์ยังไม่มีแนวปฏิบัติทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่ชัดเจน 2. ระยะสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ พัฒนาแนวปฏิบัติและทดลองใช้ 3. ระยะพัฒนาแนวปฏิบัติพยาบาลผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายประกอบด้วย 8 กิจกรรม ได้แก่ 1) ประเมินผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย 2) ประเมินครอบครัวผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย 3) แจ้งข่าวร้าย 4) วางแผนการรักษาล่วงหน้า 5) ดูแลยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ 6) ดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายในวาระสุดท้ายของชีวิต 7)ดูแลระยะหลังการเสียชีวิต และ 8)ประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายและครอบครัว และ4. ระยะประเมินผลลัพธ์หลังการใช้แนวปฏิบัติ ได้ตามแนวปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 91.53 พยาบาลวิชาชีพ เห็นด้วยในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.32 S.D. = 0.30) ผลลัพธ์ทางด้านผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยมีคะแนน POS รายข้อ ลดลงอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ
สรุป : แนวปฏิบัติที่พัฒนานี้สามารถนำไปปฏิบัติกับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ชัดเจนขึ้น
คำสำคัญ : แนวปฏิบัติการพยาบาล โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย แบบประคับประคอง
References
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณาสุข พ.ศ. 2559. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2560.
The Thai Renal Replacement Therapy Committee. Thailand Renal Replacement Therapy Year 2015. [Electronic version]. Retrieved October 6, 2019 from http://www.nephrothai .org/TRT/TRT2010/index.html
National Kidney Foundation. K/DOQI Clinical practice guidelines for chronic kidney disease evaluation, classification and stratification ,2002; Retrieved December 11, 2009, from http://www.kidney.org/ professionals/kdoqi.
National Kidney Foundation. K/DOQI Clinical practice guidelines for chronic kidney disease evaluation, classification and stratification,2012 ;Retrieved December 11, 2019, available from http://www.kidney.org/ professionals/kdoqi.html
Pungchompoo. W. Experiences and health care needs of older people with End Stage Renal Disease managed without dialysis in Thailand during the last year of life. A thesis submit of the graduate school in the fulfillment of the requirements for the degree of Doctor in Clinical Practicer, School of Health Sciences, University of Southampton, United Kingdom; 2014.
ณิชา พึ่งชมพู. สถานการณ์การดูแลระยะสุดท้ายในผู้สูงอายุไทยโรคไตวายเรื้อรัง Situation of Palliative Care in Thai Elderly Patients with End Stage Renal Disease . พยาบาลสาร 2557; 41( 4):166-77.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร. เอกสารตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมุกดาหาร ปีงบประมาณ 2561.
โรงพยาบาลมุกดาหาร. สรุปผลงานของแผนกไตเทียม ปี 2561 : 5-6.
Noble,H., Meyer,J.,Bridges,J.,Johnson,B.,and Kelly,D. Exploring symptoms in patients managed without dialysis: A qualitative research study. Journal of Renal Care;2010; 36(1) : 9-15. available from https://www.researchgate.net/profile/
World Health Organization. Global Atlas of Palliative Care at the End of Life 1014. [Electronic version]. Retrieved October 6, 2019 Retrieved from http://www.who.int/nmh/Global_Atlas_of_Palliative_Care.pdf.
ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. ผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองของผู้ป่วยมะเร็งที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยของงานการพยาบาลผู้ป่วยอายุรศาสตร์ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ [อินเทอร์เน็ต].2553 [เข้าถึงเมื่อ 12 ส.ค.2562] เข้าถึงได้จาก http://www.med.cmu.ac.th/hospital/ha/ha/Plates
Hearn J,Higginson IJ.On behalf of the Pallive care core audit project advisory group. Development and validation of a core outcome measure for palliative care: the Palliative care outcome scale. Quality in health care 1999;8:219-27.
Soukup, S.M. The center for advanced nursing practice evidence- based practice Model promoting the scholarship of practice Nursing Clinic of North America; 2000; 35 (2): 301-309.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.คำแนะนำ สำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง พ.ศ.2560.กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2560.
Registered Nurses Association of Ontario. Clinical best practice guidelines end-of-life care during the last days and hours. [internet].25011 [cited 2018 Aug 12 ] available from http://www.med.cmu.ac.th/hospital/ha/ha/Plates/
Joanna Briggs Institute. JBI levels of evidence. [internet].25018 [cited 2018 Aug 12 ] available from http://www. joannabriggs.edu.au/about/system_review.php
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.คำแนะนำ สำหรับการดูแลรักษาโรคไตเรื้อรังแบบองค์รวมชนิดประคับประคอง พ.ศ.2560.กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด; 2560.
สิริมาศ ปิยะวัฒนพงษ์. การพัฒนาการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้ายในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต] .ขอนแก่น: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น;2552.
มารยาท สุจริตวรกุล. การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2561; 43 (1) : 8-16.
ทัศนีย์ เทศประสิทธิ์ การพัฒนาระบบการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2556;23(1): 80-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม