การประยุกต์ใช้ Lean Six Sigma ในการพัฒนาคุณภาพการบริการผู้ป่วยที่รับบริการที่ แผนกผู้ป่วยนอกของศูนย์สามัคคี โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • มนัสดา คำรินทร์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้ Lean Six Sigma ในการพัฒนาคุณภาพระบบบริการของแผนกผู้ป่วยนอก (ศูนย์สามัคคี) โรงพยาบาลมหาสารคาม

วิธีดำเนินการวิจัย : เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้ทฤษฏีวงจรวิจัยของ Kemmis & McTaggart ในแผนกผู้ป่วยนอก (ศูนย์สามัคคี) โรงพยาบาลมหาสารคาม ประกอบด้วยผู้รับบริการ 250 คน และผู้ให้บริการ 23 คน รวม 273 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะเตรียมการ 2. ระยะพัฒนา และ 3. ระยะประเมินผล รวมรวมข้อมูล ในระหว่างเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ แบบบันทึกการเก็บข้อมูลเวลา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้
สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา : การประยุกต์ใช้ Lean Six Sigma พบว่า ลดขั้นตอนการให้บริการ (processes) จาก เดิมมี 6 ขั้นตอน เหลือ 5 ขั้นตอน โดย เวลาที่ใช้ในกระบวนการ ลดลงจาก 5 ชม. 38 นาที เหลือ 4 ชม. 36 นาที ระยะเวลาการรอคอย ลดลง จากเดิม 2 ชั่วโมง 34 นาที เหลือ 1 ชั่วโมง 57 นาที รอบเวลาทั้งหมด ใช้ในกระบวนการ Total Turnaround Time (TAT) ลดลงจาก 8 ชั่วโมง 12 นาที เหลือ 5 ชั่วโมง43 นาที เวลาที่ให้คุณค่า เพิ่มขึ้นจาก 23% เป็น 37% ระยะทางให้บริการลดลงจาก 2,000 เมตร เหลือ 1,400 เมตร ระดับความพึงพอใจผู้รับบริการ ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในกระบวนการหรือขั้นตอนรับบริการมากที ่สุด อยู่ในระดับ มาก (gif.latex?\dot{\bar{x}}=23.43, SD=2.675) รองลงมา สถานที ่ในการให้บริการ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=19.66, SD=2.362) และ น้อยที่สุด การสื่อสารต่อผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=15.84,SD=1.582) และในส่วนผู้ให้บริการ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริการหลังประยุกต์ใช้ Lean Six Sigma ความพึงพอใจในด้านการบริหารจัดการ มากที่สุด อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=93.26, SD=9.512) รองลงมา ด้านการปฏิบัติการ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} =77.65, SD=8.60) และจากการสำรวจระดับความพึงพอพอใจที่มีต่อการนำมาแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=31.91, SD=.696)
คำสำคัญ : การพัฒนาคุณภาพระบบบริการ, แนวคิด Lean Six Sigma, แผนกผู้ป่วยนอก (ศูนย์สามัคคี)

References

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และคณะ. ขั้นตอนการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ : รูปแบบสำหรับบริการสุขภาพ. นนทบุรี : สถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. 2542.

ชนนิกานต์ รอดมรณ์, ตวงยศ สุภีกิตย์, กนกวรรณ กิ่งผดุง, และดวงพรรณ กริชชาญชัย. การปรับปรุง ประสิทธิภาพการท างานของหอผู้ป่วยในโดยการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปาทานภายในโรงพยาบาล. การประชุมสัมมนาเชิงวิชาการประจำปี ด้านการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : มหาวิยาลัยมหิดล. 2550

วิโรจน์ ลักขณาอดิศร. ลีนอย่างไร สร้างกำไรให้องค์กร. กรุงเทพฯ: 2552.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: บริษัท นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์ จ ากัด; 2552.

NHS Scotland, Management in Healthcare Henry Stewart Publications , 2017 ; 2 (2) :115–124 .

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : บิสซิเนส อาร์ แอนด์ ดี; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-28