ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนผ่าตัดถุงน้ำดีแบบส่องกล้องเป็นการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อรรถพร ปฏิวงศ์ไพศาล

บทคัดย่อ

บทนำ : การผ่าตัดถุงน้ำดีแบบผ่านกล้อง (Laparoscopic Cholecystectomy) ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการรักษาเนื่องจากช่วยลดระยะเวลานอนโรงพยาบาล การใช้ยาระงับปวด และเหตุผลทางด้านความสวยงามของบาดแผล แต่ยังคงมีปัจจัยที่ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงการผ่าตัดแบบส่องกล้อง เป็นการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องอยู่ (Open Cholecystectomy ,OC)

วัตถุประสงค์ : ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนการผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้องเป็นแบบเปิดหน้าท้อง ในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

วิธีการศึกษา : เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective Cohort Study)

วัสดุและวิธีการ : รวบรวมจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและเวชระเบียนผู้ป่วยในของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยนิ่วถุงน้ำดีที่ได้รับการผ่าตัดแบบผ่านกล้อง ในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา ตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2561 รวมทั้งหมด 184 คน

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยนิ่วถุงน้ำดีที่ได้รับการผ่าตัดแบบผ่านกล้อง จำนวน 184 ราย ส่วนใหญ่เพศหญิง 184 ราย (ร้อยละ 81) และเพศชาย 35 ราย (ร้อยละ 19.0) โดยอายุเฉลี่ย 48.33 ปี (20-82 ปี) การผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้องเปลี่ยนเป็นแบบเปิดหน้าท้อง 41 ราย (ร้อยละ 22.28) สาเหตุจาก Unclear anatomy ร้อยละ 65.58 รองลงมา Stone impact ร้อยละ 9.76 Short cystic duct ร้อยละ 7.32, Severe adhesion ร้อยละ 4.88 ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนการผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้องเป็นแบบเปิดหน้าท้อง ได้แก่ เพศ ดัชนีมวลกาย การวินิจฉัยและรักษาก่อนการผ่าตัด ระดับของ American Society of Anesthesiologists และ การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในช่องท้อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)

สรุป : การผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้องในโรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมาเป็นวิธีที่ปลอดภัย การทราบปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการผ่าตัด จะช่วยในการตัดสินใจระหว่างผ่าตัดและพัฒนาการผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

คำสำคัญ : การผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้อง, นิ่วในถุงน้ำดี, ปัจจัยที่มีผลต่อการผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดีผ่านกล้อง

References

Medicare RBRVS 2010 : The Ohysicians’ Guide. Smith SL.(Editor) American Medical Assciation 2010.

Gouma DJ, Go PM Bile duct injury during laparoscopic and conventional cholecystectomy. J Am Coll Surg 1994; 178(3): 229-33.

Keus F, de Jong J, Goszen HG, Laarhoven CJHM. Laparoscopic versus open cholecystectomy for patients with symptomatic cholecystolithiasis. Cochrane Database of Systematic Reviews 2006; Issue 4.

สหธรรม สมินทรปัญญา. ปัจจัยที่มีผลต่อความยากในการผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี. ลำปางเวชสาร 2552; 30(3): 131-137.

Lujan J, Parrilla P, RoblesbR, Marin P, Torralba J, Garcia-Ayllon J. Laparoscopic Cholecystectom vs Open Cholecystectomy in the Treatment of Acute cholecystitis. Arch Surg 1998; 133(2): 173-5.

Reddy SVR, Balamaddaiah G. Predictive factors for conversion of laparoscopic cholecystectomy to open cholecystectomy: a retrospective study. International Surgery Journa 2016; 3(2): 817-820.

ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยทางศัลยกรรม โรคนิ่วในทางเดินน้ำดี. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2562. www.rcst.or.th/view.php?group=4&id=204

ทวีสิน ตันประยูร. Difficult Laparoscopic Cholecystectomy. ใน: พรพรหม เมืองแมน และคณะ, บรรณาธิการ. Tips & Pitfalls in General Surgery ศัลยศาสตร์ทั่วไป เล่ม 15. กรุงเทพมหานคร, โฆสิตการพิมพ์ ; 2555 : 260-268.

งามพิศ ธนไพศาล. การผ่าตัดถุงน้ำดีทางกล้องวีดีทัศน์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2546; 18(2):110-117.

ธวัชชัย พูนแก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อความยากในการผ่าตัดนิ่วถุงน้ำดีผ่านกล้องในโรงพยาบาลพัทลุง. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 , 2559; 30:251-260.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31