ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดี ในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพันสาม จังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเองเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาพันสาม จังหวัดเพชรบุรี
รูปแบบและวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงที่คลินิกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 40 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ให้ความรู้เกี่ยวกับธงโภชนาการ อาหารแลกเปลี่ยน อ่านฉลากโภชนาการ ฝึกทักษะเลือกบริโภคอาหารโดยใช้โมเดลอาหาร ร่วมกับการมีส่วนรวม เสนอตัวแบบ อภิปราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบบสอบถามความรู้ การรับรู้ ความคาดหวัง และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานสถิติ Paired t-test และ Independent t-test
ผลการศึกษา : กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ การรับรู้และความคาดหวังความสามารถตนเองในการควบคุมการบริโภคอาหารดีกว่าก่อนการทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.001) และพฤติกรรมการบริโภคอาหารดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (p<0.05)
สรุปผลการศึกษา : ประสิทธิผลของโปรแกรมประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงให้ดีขึ้นได้
References
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สถานการณ์โรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2563]. เ ข้ า ถึง ไ ด้ จ า ก: https://www.dmthai.org/index.php/knowledg e/the-chart/the-chart-1.
World Health Organization. Noncommunicable disease country profiles. World Health Organization, 2014.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สถิติโรคเบาหวานในประเทศไทย.[อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2563]. เ ข้ า ถึง ไ ด้ จ า ก: http://www.dmthai.org/news_and_knowledge /2215.
World Health Organization (WHO). A global brief on hypertension Silent killer, global public health crisis. 2013. Retrieved from http://www.who.int/cardiovas cular_diseases/publications/global_brief_hypertension/en/.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สามเจริญพาณิชย์ จำกัด; 2559.
กลุ่มเทคโนโลยีระบาดวิทยา และมาตรการชุมชน กองโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร; 2561.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราผู้ป่วยใน ปี 2559 – 2561 (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง, COPD). [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2563]. เ ข้ า ถึง ไ ด้ จ า ก: https://bit.ly/2VOZgRE.
วชิราภรณ์ แสนสิงห์, ประสิทธ์ ลีระพันธ์, ธราดล เก่งการพานิช และลักขณา เติมศิริกุลชัย. ผลของโปรแกรมการควบคุมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6. วารสารสุขศึกษา 2556; 36(124): 76-88.
อรวรรณ มุงวงษา, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, สุปรียา ตันสกุล และนิรัตน์ อิมามี. โปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครปฐม. วารสารกรมการแพทย์ 2560; 42(5): 62-70.
Bandura, A. Social Learning Theory, New Jersy:Prentice-Hall; 1977.
วราภรณ์ ยังเอี่ยม, พัชราณี ภวัตกุล, มันทนา ประทีปะเสน และนิรัตน์ อิมานี. การส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้โดยประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ในนักรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2556; 43(2): 127-135.
Bandura, A. Self-efficacy: Toward a Unifying Theory of Behavioral Change; 1977.
รัตติกาล พรหมพาหกุล, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ และกีรดา ไกรนุวัตร. ผลของโปรแกรมการกํากับตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2563; 38(2): 32-45.
ศิริพร ค้างคีรี, ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์, ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์. โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพดัชนีมวลกายและระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2563; 14(1): 80-94.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม