The Effect of Empowerment Nursing Practice Guideline on Preventing Endotracheal Tube Displacement of Newborn Infant in Neonatal Intensive Care Unit ,Mahasarakham Hospital
คำสำคัญ:
ทารกแรกเกิด, แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุด, การเสริมพลังอำนาจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดในทารกแรกเกิดโดยการเสริมพลังอำนาจพยาบาล หน่วยงานทารกวิกฤตโรงพยาบาลมหาสารคาม และศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดในทารกแรกเกิดโดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพทุกคนที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานทารกวิกฤต จำนวน 11 คน และทารกแรกเกิดถึง อายุ 30 วัน ที่ใส่ท่อหลอดลมคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ ศึกษาระหว่างเดือนกรกฎาคม2557 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 จำนวน 30 ราย
ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ด้านเพศ อายุครรภ์ น้ำหนักของทารกก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะข้อมูลทั่วไประหว่างกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติและกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติ จากการทดสอบทางสถิติ พบว่า ค่า Kolmogorov – Smirnov Z ทุกเรื่องมีค่า > .05 และค่า Asymp. Sig. (2-tailed) ทุกเรื่องมีค่า > .05 จึงอธิบายได้ว่า ทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันในเรื่อง อายุ น้ำหนัก อายุในครรภ์มารดาและจำนวนวันใส่ท่อหลอดลมคอ กล่าวคือ กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ส่วนใหญ่มีอายุ 1 วัน อายุเฉลี่ย 2.73 วัน อายุในครรภ์มารดาเฉลี่ย 34.93 สัปดาห์ และทารกมีน้ำหนักเฉลี่ย 2,344.67 กรัม ในด้านความพึงพอใจ พยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดในทารกแรกเกิด พบว่า พยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุดทุกด้าน
สรุปและอภิปรายผล แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุดในทารกแรกเกิด โดยการเสริมพลังอำนาจพยาบาล ซึ่งพัฒนาโดยใช้กรอบแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของคองเกอร์และคานันโก ทุกขั้นตอน การเสริมสร้างพลังอำนาจ ทำให้ผู้ปฏิบัติรับรู้ปัญหาค้นหาทางเลือกในการแก้ปัญหา ระบุแนวทางปฏิบัติสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัย ของฟิลแมน , การ์ฟิลและนักวิชาการอีกหลายท่าน
References
Sharek PJ, Horbar JD, Mason W, Bisarya H, Thurm CW, Suresh G, et al. Adverse events in the neonatal intensive care unit: development, testing, and findings of an NICU- focused trigger tool to identify harm in North American NICUs. Pediatrics. 2006 Oct;118(4):1332-40.
Conner GH, Maisels MJ. Orotracheal intubation in the newborn. Laryngoscope 1977;87(1):87
ปิยะนันท์ ไพไทย. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอหลุดในทารก. การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ พยาบาลสุขภาพเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
Conger JA, Kanungo RN. The empowerment process:integrating theory and practice. Acad Manage Rew 1988;13:471-482.
กิตติยาภรณ์ โชคสวัสดิ์ภิญโญ. การเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลและครอบครัวต่อการพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี/ ผู้ป่วยเอดส์.2554.
อังคนา จันคามิ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันท่อหลอดลมคอเลื่อนหลุด ในทารกแรกเกิด. การศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ พยาบาลสุขภาพเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2557.
รัตนา ลือวานิช. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับ ความพึงพอใจของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคใต้; 2539.
จันทร์เพ็ญ สิทธิวงศ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับความ พึง พอใจในงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญา;2545.
เยาวภา จันทร์มา. การพัฒนาและการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันท่อ ทางเดินหายใจเลื่อนหลุดในผู้ป่วยทารกและเด็ก หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม โรงพยาบาล นครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 27(4);2552.22-29.
เบญจมาศ จันทร์นวล. การลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยขณะใส่เครื่องช่วยหายใจโดยใช้ดนตรีบำบัดในหอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์.วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2538.
Funnell MM, Anderson RM. Empowerment and Self Management of Diabetis. Clinical Diabetis ;2004,22 (3): 123-127.
สุพิศ กิตติรัชดา. การเสริมสร้างพลังอำนาจในงานกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรพยาบาล โรงพยาบาลนครพิงค์เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2538.
อวยพรตัณมุขยกุล. พลังอำนาจกับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน ในวิชาชีพพยาบาล. พยาบาลสาร; 2540.241-9.
Manthey M. Empowerment: Staff nurse: decision on the action level. Nurse Management; 1989, 20:17
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
วารสารนี้เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลมหาสารคาม