ผลการติดตามพัฒนาการเด็กทารกกลุ่มเสี่ยงระยะยาวที่โรงพยาบาลมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา ตันสังวรณ์ รพ มหาสารคาม

คำสำคัญ:

เด็กทารกกลุ่มเสี่ยง, ภาวะขาดออกซิเจน, ติดเชื้อในกระแสเลือด, พัฒนาการล่าช้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อการศึกษาผลลัพธ์ของพัฒนาการและปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการล่าช้าในทารกที่มีความเสี่ยงสูง ที่คลินิกพัฒนาการเด็กโรงพยาบาลมหาสารคาม

รูปแบบและวิธีวิจัย : การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospective descriptive study) โดยศึกษาจากแฟ้มประวัติของทารกกลุ่มเสี่ยงที่เกิดในโรงพยาบาลมหาสารคาม ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2559 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2561 ซึ่งได้มาติดตามที่คลินิกพัฒนาการเด็กโรงพยาบาลมหาสารคาม อย่างน้อยจนถึงอายุ 24 เดือน และรวบรวมข้อมูลการประเมินพัฒนาการของทารกโดยใช้ คู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง ที่อายุ 9 เดือน 18 เดือน และ 24 เดือน นำมาวิเคราะห์

ผลการศึกษา : ทารกกลุ่มเสี่ยงที่เกิดระหว่าง วันที่ 1 มกราคม 2559 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน216 ราย เข้าเกณฑ์ 161 ราย ส่วนใหญ่เป็นทารกเกิดก่อนกำหนด 140 ราย(ร้อยละ 87) โดยมีน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 1500+0.5 กรัม เป็นเพศชายและเพศหญิงใกล้เคียงกัน โดยที่อายุ 24 เดือน พบว่า มีเด็กทารกกลุ่มเสี่ยงที่มีพัฒนาการล่าช้า 42 ราย (ร้อยละ 26.1) ซึ่งมีพัฒนาการล่าช้าทั้ง 3 ด้านจำนวน 16 ราย (ร้อยละ 38.1) ผลสำรวจพัฒนาการล่าช้าแต่ละด้าน พบทารกกลุ่มเสี่ยงมีพัฒนาการล่าช้ามากที่สุดในด้านความเข้าใจภาษาหรือการใช้ภาษาจำนวน 33 ราย (ร้อยละ 20.5) รองลงมาคือ พัฒนาการล่าช้าด้านกล้ามเนื้อ จำนวน 27 ราย (ร้อยละ 16.8) และพัฒนาการล่าช้าด้าน การช่วยเหลือตัวเองและสังคมจำนวน 18 ราย (ร้อยละ 11.2) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการล่าช้าในเด็กทารกกลุ่มเสี่ยงทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ภาวะขาดออกซิเจน ติดเชื้อในกระแสเลือด และภาวะซีด

สรุปผลการศึกษา : ทารกกลุ่มเสี่ยงที่ติดตามพัฒนาการระยะยาว ส่วนมากพบว่า มีพัฒนาการสมวัยที่ 24 เดือน ในกลุ่มที่มีพัฒนาการล่าช้านั้น พบว่ามีความสัมพันธ์กับการมีภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกช่วงแรกเกิด ดังนั้น การดูแลทารกกลุ่มเสี่ยงนี้ให้มีภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุดเป็นสิ่งสำคัญจะช่วยลดการเกิดพัฒนาการล่าช้าได้ และควรให้การติดตามประเมิน กระตุ้นพัฒนาการ และการเจริญเติบโต อย่างต่อเนื่อง

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: 2559.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ; 2557 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaihealth.or.th

มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว. แผนงานวิจัยการปฏิรูปสุขภาวะและการพัฒนาเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2562 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://mahidol.ac.th/th/2018/mou-health/

กระทรวงสาธารณสุข. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ Health Data Center:HDC [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2561 [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ สงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา; 2560.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา; 2560.

ระวีวรรณ พูลสวัสดิ์. การศึกษานำร่องความสอดคล้องของแบบคัดกรองพัฒนาการ DAIM เทียบกับแบบคัดกรองพัฒนาการDENVER II ในเด็กกลุ่มเสี่ยงอายุ 4 เดือน, 9 เดือน และ 12 เดือน. [วิทยานิพนธ์สาขากุมารเวชศาสตร์]. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี; 2559.

สุพัตรา บุญเจียม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเด็กปฐมวัยคุณภาพเขตสุขสภาพที่7. ศูนย์อนามัยที่7 ขอนแก่น 2562; 11: 25-38.

ภควดี วุฒิพิทยามงคล. ผลการประเมินพัฒนาการเด็กกลุ่มเสี่ยงในช่วงปฐมวัยในโครงการบูรณาการพัฒนาเด็กล้านนาในโรงพยาบาลลำปาง. ลำปางเวชสาร 2561: 18-32.

Sherman T, Shulman BB. Low birth weight and developmental delays: Research issues in communication sciences and disorders. CICSD [Internet]. 1997 [cited 2016 Feb 3]. Available from:http://www.asha.org/uploadedFiles/asha/publications /cicsd/1997LowBirthweightandDevelopmentalDelays.pdf

American college of obstetricians and gynecologists, American academy of pediatrics. The apgar score. Obstet gynecol 2015;126:52-5.

กรมอนามัย สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ. รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีจีทูล จำกัด; 2561.

พนิต โล่เสถียรกิจ และคณะ. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยในปี พ.ศ. 2557. วิชาการสาธารณสุข 2560;5: 200-208.

ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการสงสัยล่าช้าของเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2561;5:161-171.

สุภาวดี ประคุณหังสิต, บรรณาธิการ. การสื่อความหมาย. 1. กรุงเทพฯ: บริษัท โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด; 2550.

University of Illinois at Urbana-Champaign. "Preterm babies may suffer setbacks in auditory brain development, speech." ScienceDaily.

ยุวดี พงษ์สาระนันทกุล และ สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. รูปแบบการสร้างเสริมพัฒนาการด้านภาษาแก่เด็กอายุ 2-4 ปีโดยบิดามารดาหรือผู้ดูแล: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. พยาบาลศาสตร์ 2559; 34: 33-44.

Noritz GH, Murphy NA. Motor delays: early identification and evaluation. Pediatrics 2013; 131: e2016-27.

Wang B, Zhan S, Gong T, Lee L. Iron therapy for improving physical and intellectualdevelopment inchildrenunder the ageof three whoare anemicdue toa lack of iron. Cochrane Summaries. Published Online : June 6, 2013. from http://www.ncbi. nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0011045.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28