ความชุกและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงและแบบที่มีภาวะช็อก

ผู้แต่ง

  • ประภาพรรณ วีระศิริ -

คำสำคัญ:

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบที่มีภาวะช็อก, ผู้ป่วยเด็ก, หอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุก อัตราการเสียชีวิต และปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงและแบบที่มีภาวะช็อก

รูปแบบและวิธีวิจัย: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบวิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยเด็กอายุ 1 เดือนถึง 15 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงและแบบที่มีภาวะช็อก และเข้ารักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กโรงพยาบาลมหาสารคาม ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2563 โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตด้วยสถิติ multiple logistic regression

ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยเด็กในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็กทั้งหมด 592 ราย พบผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงและแบบที่มีภาวะช็อกจำนวน 52 ราย ความชุกเท่ากับร้อยละ 8.8 มีโรคประจำตัวร้อยละ 61.5 ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อจากชุมชนร้อยละ 82.7 ตำแหน่งที่มีการติดเชื้อมากที่สุดคือ ระบบทางเดินหายใจ (ร้อยละ 57.7) มีหลักฐานการติดเชื้อร้อยละ 25 เชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือ E. coli (ร้อยละ 7.7) มีอวัยวะทำงานผิดปกติ 2ระบบขึ้นไปร้อยละ 92.3 การรักษาส่วนใหญ่ได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 60 นาทีร้อยละ 76.9 ผลการรักษาบรรลุเป้าหมายการรักษาภายใน 6 ชั่วโมงแรกร้อยละ 57.7 มีปัสสาวะออกตามเป้าหมายร้อยละ 90.4 อัตราการเสียชีวิตร้อยละ 28.8 ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติคือ การได้รับการรักษาจนบรรลุเป้าหมายการรักษาภายใน 6 ชั่วโมงแรก (Adjusted OR 0.05, 95%CI 0.00-0.76, p-value 0.032)

สรุปผลการศึกษา: ความชุกของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงและแบบที่มีภาวะช็อกในเด็กพบร้อยละ 8.8 และยังมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงถึงร้อยละ 28.8 การได้รับการรักษาจนบรรลุเป้าหมายการรักษาภายใน 6 ชั่วโมงแรกอาจจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตลงได้

คำสำคัญ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบที่มีภาวะ

References

Samransamruajkit R, Hiranrat T, Prapphal N, et al. Levels of protein C activity and clinical factors in early phase of pediatric septic shock may be associated with the risk of death. SHOCK 2007;28(5):518-23.

Locharoenrat S. Epidemiology and Outcomes of Pediatric Severe Sepsis and Septic Shock in Queen Sirikrit National Institute of Child Health [Internet]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก:http://library.childrenhospital.go.th/elib/multim/km/1047.pdf

คณะอนุกรรมการกุมารเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยเด็กติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงและแบบที่มีภาวะช็อก พ.ศ. 2561. [Internet]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20190417145929.pdf

Kawasaki T. Update on pediatric sepsis: a review. J Intensive Care 2017;5:47.

Weiss SL, Fitzgerald JC, Pappachan J, et al. Global epidemiology of pediatric severe sepsis: the sepsis prevalence, outcomes, and therapies study. Am J Respir Crit Care Med 2015;191(10):1147-57.

Ruth A, McCracken CE, Fortenberry JD, et al. Pediatric severe sepsis: current trends and outcomes from the Pediatric Health Information Systems database. Pediatr Crit Care Med 2014;15(9):828-38.

Wolfler A, Silvani P, Musicco M, et al. Incidence of and mortality due to sepsis, severe sepsis and septic shock in Italian Pediatric Intensive Care Units: a prospective national survey. Intensive Care Med 2008;34(9):1690-7.

Shime N, Kawasaki T, Saito O, et al. Incidence and risk factors for mortality in paediatric severe sepsis: results from the national paediatric intensive care registry in Japan. Intensive Care Med 2012;38(7):1191-7.

Goldstein B, Nadel S, Peters M, et al. ENHANCE: results of a global open label trial of drotrecogin alfa (activated) in children with severe sepsis. Pediatr Crit Care Med 2006;7(3):200-211.

Uppala R, Wongrat C. Mortality and Predictive Factors in Pediatric Severe Sepsis and Septic Shock after Implementation of Surviving Sepsis Campaign Guideline in Srinagarind Hospital. Srinagarind Med J 2020;35(4):404-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-29