ปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพชนิดฉีดที่มีการควบคุมการสั่งใช้ยาและความสัมพันธ์กับความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ: กรณีโรงพยาบาลระดับเหนือตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
ยาต้านจุลชีพ, ความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพ, ปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นแบบย้อนหลังที่ทำการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพ 7 รายการ และรายงานผลการทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรีย 7 ชนิด จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ในระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 โดยคำนวณปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพในหน่วย DDD/1000 วันนอน และวิเคราะห์แนวโน้มปริมาณการใช้ยาและความไวต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อแบคทีเรียโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าจากข้อมูลของโรงพยาบาลในช่วงเวลา 3 ปี ยาต้านจุลชีพที่มีปริมาณการใช้มากที่สุดคือ meropenem รองลงมาคือ piperacillin/tazobactam และ vancomycin มีค่าเฉลี่ยปีละ 69.86, 48.29 และ 22.43 DDD/1000 วันนอน ตามลำดับ ยาต้านจุลชีพที่มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นได้แก่ ยา piperacillin/tazobactam และ ertapenem ส่วนยาที่มีปริมาณการใช้ลดลงได้แก่ ยา fosfomycin และ cefoperazone/sulbactam เชื้อแบคทีเรียแกรมบวกส่วนใหญ่ไวต่อยาต้านจุลชีพมากกว่าร้อยละ 80 ยกเว้น E.faecium ไวต่อ fosfomycin น้อยกว่าร้อยละ 80 เชื้อแกรมลบส่วนใหญ่มีความไวต่อยาต้านจุลชีพน้อยกว่าร้อยละ 80 ยกเว้น E.coli ไวต่อยาทุกชนิดมากกว่าร้อยละ 80 ปริมาณการใช้ยา piperacillin/tazobactam มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับความไวของเชื้อ K.pneumoniae ต่อยาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ตรงกันข้ามกับความไวของเชื้อ P.aeruginosa ต่อยาที่มีแนวโน้มลดลง ปริมาณการใช้ยา ertapenem มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับความไวของเชื้อ A.baumannii, E.coli และ K.pneumoniae ต่อยาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนปริมาณการใช้ยา fosfomycin มีแนวโน้มลดลงเช่นเดียวกับความไวของเชื้อ K.pneumoniae ที่ลดลง แต่ความไวของเชื้อ A.baumannii ต่อยามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผลการศึกษาสรุปได้ว่าปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับผลทดสอบความไวของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพบางชนิด
References
จุลชีพ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. ต.ค.-ธ.ค. 2560;11(4):593-607.
2. ภาณุมาศ ภูมาศ, ตวงรัตน์ โพธะ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, อาทร ริ้วไพบูลย์, ภูษิต ประคองสาย, สุพล ลิมวัฒนานนท์.
ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. ก.ค.-ก.ย. 2555;6(3):352-60.
3. พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข. เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ: วิกฤตและทางออก. HSRI Forum. มิ.ย. 2555;1(1):3-6.
4. WHOCC: ATC Index and guidelines [Internet] Oslo, World Health Organization Collaborating Centre for Drug
Statistics Methodology c2018. [cited 2018 Apr 25]. Available from: https://www.whocc.no/atc_ddd_index_and_guidelines/atc_ddd_index/.
5. อรอนงค์ หงษ์ชุมแพ, วิชัย สันติมาลีวรกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณยาโดยเฉลี่ยสำหรับการรักษาต่อวันต่อ
1000 รายคนไข้-วันของยาต้านจุลชีพและอัตราการดื้อยาของเชื้อ P. aeruginosa และ A. baumannii: กรณีศึกษาโรงพยาบาลหัวหิน. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. ม.ค.-มี.ค. 2559;11(1):27-32.
6. เสริมสุข ละอองสุวรรณ, กรรณิการ์ แจ่มศักดิ์, ธนวดี ช.สรพงษ์, วจีทิพย์ แก้วบุตรา, วศิน เหล่าสืบสกุลไทย.
ความสัมพันธ์ระหว่างประมาณการใช้ยาต้านจุลชีพและการดื้อยาต้านจุลชีพในสถาบันประสาทวิทยา. ไทยไภษัชยนิพนธ์. ก.ค.-ธ.ค. 2560;12(2):21-9.
7. ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติ 2562. ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 136,
ตอนพิเศษ 95 ง (ลงวันที่ 17 เมษายน 2562)
8. นัยนา เยื้องกลาง. การประเมินความเหมาะสมในการสั่งใช้ยา Simvastatin ตามเงื่อนไขของบัญชียาหลักแห่งชาติ
พ.ศ. 2556 ของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. พ.ย. 2557-ก.พ. 2558;7 (3):95-99. (ส่วนที่เพิ่ม)
9. เชิดชัย สุนทรภาส, รัชฎาพร สุนทรภาส, ธนิดา นันทะแสน, ภิรุญ มุตสิกพันธุ์. การปฏิบัติตามมาตรการควบคุมการ
สั่งใช้ยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. มี.ค. 2558;11 ฉบับพิเศษ:104-7.
10. Meyer E, Gastmeier P, Dega M, Schwab F. Antibiotic consumption and resistance: data from Europe and
Germany. Int J Med Microbiol. 2013 Aug;303(6-7):388-95.
11. Wushouer H, Zhang Z, Wang J, Ji P, Zhu Q, Aishan R, et al. Trends and relationship between antimicrobial
resistance and antibiotic use in Xinjiang Uyghur autonomous region, China: based on a 3 year surveillance data, 2014–2016. J Infect Public Health. 2018 May-Jun;11(3):339-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น