การตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ อำเภอกุดดชุม จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
มะเร็งตับ, มะเร็งท่อน้ำดี, อัลตร้าซาวด์บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective descriptive study) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ผลการตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ และศึกษาระบาดวิทยาการเกิดมะเร็งตับ/มะเร็งท่อน้ำดี อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ปี พ.ศ. 2560-2562 ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 3,846 คน ตามเกณฑ์การคัดเลือก เครื่องมือในการศึกษา ประกอบด้วย เครื่องอัลตร้าซาวด์ เวชระเบียนผู้ป่วย แบบบันทึก Demographic Information Form: Enrollment (CCA01) Ultrasound Form (CCA02) และฐานข้อมูล Isan cohort วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ proportion test 95%CI ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.0 อายุเฉลี่ย 54 ปี (SD±9.0) การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 79.6 มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 91.4 เคยได้รับการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 52.6 เคยตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 53.0 เคยได้รับยาฆ่าพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 28.6 มีญาติสายตรงป่วยเป็นมะเร็งท่อน้ำดี ร้อยละ77.5 โดยเฉพาะเป็นพ่อแม่และพี่น้อง เคยรับประทานปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดดิบๆ สุกๆหรือปลาร้าไม่ต้มสุก มากที่สุดถึงร้อยละ 94.5 ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างของโครงการ CASCAP ผลการอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน ส่วนใหญ่ตรวจพบความผิดปกติ PDF มากที่สุด ร้อยละ 11.6 รองลงมาคือ Fatty Liver ร้อยละ10.5 พบผู้ที่สงสัยเป็นมะเร็ง จำนวน 11 ราย คิดเป็น 300/100,000 ประชากร ได้รับการตรวจยืนยัน พบว่าเป็นมะเร็งท่อน้ำดี จำนวน 3 ราย 2 รายได้รับการผ่าตัด อีก 1 ราย ปฏิเสธการรักษา การตรวจอัลตร้าซาวด์ของโครงการ CASCAP ในช่วงระยะเวลาเดียวกัน จำนวน 526,843 คน ตรวจพบ PDF, Fatty liver และ Suspected Case มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน แต่เมื่อทดสอบด้วยสถิติ Z- test พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) การติดตามระบาดวิทยาในเขตพื้นที่อำเภอกุดชุม ตรวจพบ PDF มากที่สุดที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพโนนประทาย ร้อยละ 19.9 Suspected Case พบ 7 ใน 14 แห่ง ผู้ป่วยยืนยันมะเร็ง 3 รายอยู่ในพื้นที่ 3 ใน 7 แห่งที่ตรวจพบ Suspected Case ซึ่งต้องมีการศึกษาเชิงลึกเพิ่มเติมในพื้นที่ต่อไป
References
Vatanasapt V, Martin N, Sriplung H, Chindavijak K, Sontipong S, Sriamporn S, Parkin DM. and Ferlay J. Cancer Incidence in Thailand. 1988-1991. Cancer Epidemiology Biomarkers and Prevention 1995;4:475-83.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ทะเบียนมะเร็งรับโรงพยาบาล พ.ศ.2562 เข้าถึงข้อมูล https://www.nci.go.th/th/File_download/Nci%20Cancer%20Registry/Hospital-Based%202019%20NCI.pdf
ณรงค์ ขันตีแก้ว และคณะ.รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ : การพัฒนาระบบสาธารณสุขเพื่อการตรวจคัดกรอง ตรวจวินิจฉัยและบริหารจัดการ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563.2
ระวิศักดิ์ จันทร์วาสน์ และคณะ. แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี.พิมพ์ครั้งที่ 2.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.2559.
กิตติวัฒน์ กันทะ และคณะ. การจำแนกชนิดของภาพอัลตราซาวด์ตับและท่อน้ำดี ในเขตอำเภอจุน จังหวัดพะเยา.พิษณุโลก : วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2, พฤษภาคม – สิงหาคม 2562 (พิเศษ). - 2 : ฉบับที่ 2 ปีที่ 6.
Sungkasubun P, Siripongsakun S, Akkarachinorate K, Vidhyarkorn S, Worakitsitisatorn A, Sricharunrat T, et al. Ultrasound screening for cholangiocarcinoma could detect premalignant lesions and early-stage diseases with survival benefits. BMC Cancer 2016;16:346.
Chamadol N, Pairojkul C, Khuntikeo N, Laopaiboon V, Loilome W, Sithithaworn P.Histology confirmation of periductal fibrosis from ultrasound diagnosis in cholangiocarcinoma patients. Japanese Society of epato-Biliary- Pancreatic Surgery 2014;21:316-22.
Mizuma Y, Watanabe Y, Ozasa K, Hayashi K, Kawai K. Validity of sonographic screening for the detection of abdominal cancers. J clin Ultras 2002; 30(7):408-15.
นิสสา อาชวชาลี. ประสิทธิภาพของการค้นหามะเร็งท่อน้ำดีของประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงในพื้นที่อำเภอโพทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. ขอนแก่น : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 , พฤษภาคม - สิงหาคม 2561. - 2 : ฉบับที่ 2 ปีที่ 25 .
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆบทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักณอักษรจากวารสารศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยก่อนเท่านั้น