ผลของกิจกรรมการสอนสุขภาพจิตที่เน้นการฝึกทักษะต่อการทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

ผู้แต่ง

  • พัฒนี ศรีโอษฐ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • ภาสินี โทอินทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การทำหน้าที่ทางสังคม, ผู้ป่วยจิตเภท, สุขภาพจิตศึกษา, ฝึกทักษะ

บทคัดย่อ

         การวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อเปรียบเทียบการทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนก่อนและหลังการทำกิจกรรมสุขภาพจิตศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะและระหว่างกลุ่มที่ทำกิจกรรมสุขภาพจิตศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะกับกลุ่มที่ทำกิจกรรมการดูแลตามปกติกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยจิตเภทและผู้ดูแล 40 คนโดยจับคู่แล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 20 คนกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามกิจกรรมสุขภาพจิตศึกษาทั้งหมด 6 ครั้งๆ ละ 45-60 นาทีได้แก่ 1) การมีส่วนร่วมทางสังคม 2) การสื่อสารระหว่างบุคคล 3) การมีกิจกรรมทางสังคม 4) กิจกรรมนันทนาการ 5) ความสามารถในการพึ่งพาตนเอง 6) ประสิทธิภาพในการพึ่งพาตนเอง 7) การจ้างงาน/อาชีพกลุ่มควบคุมทำกิจกรรมการดูแลตามปกติเครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบประเมินการทำหน้าที่ทางสังคมแบบวัดทักษะการจัดการกับอาการและการบริหารจัดการยามีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค 0.94 และ 0.90 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีด้วย independent t-test และ Paired t-test

             ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยการทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนของกลุ่มทดลองหลังทำกิจกรรมสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยการทำหน้าที่ทางสังคมของผู้ป่วยจิตเภทของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

References

จิราพร รักการ.ผลของการใช้โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาต่อภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.

ทานตะวัน แย้มบุญเรือง. ผลของการใช้โปรแกรมก่อนการจำหน่ายสำหรับผู้ป่วยและครอบครัวผู้ป่วยจิตเวช.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2560.

ทุลภา บุปผาสังข์. ภาระและความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลกับการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยที่เป็นโรคจิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558.

เทียมจันทร์ ศรีคำจันทร์. ภาระและความสามารถในการดูแลของผู้ดูแลกับการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยที่เป็นโรคจิต.ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558.

ผลทิพย์ ปานแดง.ผลของการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อผู้ป่วยและผู้ดุแลต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยจิตเภท. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.

พิเชษฐ อุดมรัตน์และสรยุทธ วาสิกนานนท์. ตำราโรคจิตเภท. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์, 2559.

Alan, S., et al.“Assessment of Community Functioning in People with Schizophrenia and other severe Mental Illness: A White Paper Based on an NIMH-Spomsored Workshop”. Schizophrenia Bulletin. 33(3):805-822, 2007.

Anderson, C.M., Hogarty, G.E., & Reiss, D.S.“Family treatment of adult schizophrenia Patients: A Psychoeducation approach”. Shizophrenic Bulletin. 6(3): 490-505, 1980.

Barry, P.D. Psychical Nursing: Assessment and Intervention Care of the Physically ILL Person.Philadelphia:Lippincott, 1989.

Birchwood, M., Smith, J. J., Cochrance, R., Wetton, S., &Copestake, S. “The Development and Validation of a New Scale of Social Adjustment for use in Family Intervention Programs with Schizophrenic Patients”. British Journal of Psychiatry.157: 853-859, 1996.

Fadden, G. “Research Update: Psychoeducation family interventions”. Journal of Family Therapy.20 : 293-309, 1998.

Herzog, A.E.Schizophrenia and schizophrenia spectrum disorders in M.E.2014.

Honkonen, T., Saarinen, S., &Salokangas, R. “Deinstitutionalization and Schizophrenia in Finland II: Discharged Patients and Their Psychosocial Functioning”. Schizophrenia Bulletin. 25(3):543-551, 1999.

Marwaha, S., & Johnson, S.“Schizophrenia and employment – a review. Soc Psychiatry Epidemiology. 38 : 337-349, 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-31