การปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติในบริบทการดูแลสุขภาพปฐมภูมิประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รัชตวรรณ ศรีตระกูล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ขนิษฐา นันทบุตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงาน, พยาบาลเวชปฏิบัติ, การดูแลสุขภาพปฐมภูมิ, การวิจัยเชิงชาติพันธ์วรรณา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณาแบบเจาะจงเพื่อศึกษาการปฏิบัติงานพยาบาลเวชปฏิบัติในบริบทการดูแลสุขภาพปฐมภูมิประเทศไทย เก็บข้อมูลในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 43  แห่ง ผู้ให้ข้อมูลหลักเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติจำนวน 43 คน ผู้ให้ข้อมูลทั่วไปได้แก่ ผอ.รพ.สต. พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน พยาบาลวิชาชีพ นายแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักวิชาการสาธารณสุข ทันตาภิบาล กายภาพบำบัด สาธารณสุขอำเภอ นักจัดการข้อมูลของสสอ. อาสาสมัครสาธารณสุข นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กรรมการกองทุนสุขภาพตำบล ประธานและสมาชิกชมรมพยาบาลเวชปฏิบัติ และผู้ใช้บริการ จำนวน 24  คน  เก็บข้อมูลโดยการบันทึกภาคสนาม การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์แก่นสาระ 

ผลการศึกษาพบว่าประเด็นการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติส่วนใหญ่ในบริบทการดูแลสุขภาพปฐมภูมิได้แก่ ทำงานตามบทบาทที่กฎหมายกำหนด ตามภารกิจของหน่วยบริการปฐมภูมิ รับผิดชอบให้บริการสุขภาพทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพและการสนับสนุนบริการสุขภาพตามความปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการและชุมชน  วิธีการจัดการกับงาน ได้แก่  แบ่งงานกับทีมตามขอบเขตของวิชาชีพ  จัดลำดับการทำงานกับทีมก่อนหลังตามระบบข้อมูลสุขภาพที่มีอยู่  ใช้การเยี่ยมบ้านเพื่อจัดการดูแลต่อเนื่อง  จัดเวลาให้บริการสุขภาพยืดหยุ่นตามความต้องการ  ค้นหาประเด็นสุขภาพร่วมกับเครือข่ายแกนนำในชุมชน  พยาบาลเวชปฏิบัติยังสร้างบริการสุขภาพใหม่ๆในหน่วยบริการจากโครงการนวัตกรรมสำหรับชุมชน  เพิ่มพูนความรู้ความสามารถทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ข้อค้นพบนี้สามารถนำไปสู่การสร้างข้อเสนอเพื่อพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติในการให้บริการสุขภาพปฐมภูมิที่สนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการ มีความครอบคลุมทุกมิติและเป็นองค์รวมให้สอดคล้องกับสังคมวัฒนธรรมการทำงานในหน่วยบริการปฐมภูมิของพื้นที่ต่อไป

 

References

Pothisita , C. (2016). Science and Art in Qualitative Research. Bangkok: Ammarin

Printing Publishing. [In Thai].

Boontong T, Athaseri S, Sirikul N. (2007). Nurse Practitioners role towards primary medical care in primary health care setting. Thai Journal of Nursing Council, 22(4), 24-37.

Duncombe, C D. (2017). A Multi-institutional study of the perceived barriers and facilitators to implement evidence-based practice. Journal of clinical nursing, 2018(27) ,1216-1226.

Department of Local Administration. (2007). Standardization of Primary Health Care Works. Ministry of Interiors. Bangkok. [In Thai].

Health System Research Institute. (2011). Research and health service system development (Primary care system plan). From http://kb.hsri.or.th/dspace/. [In Thai].

Hanucharurnkul, S. (2007). Nurse in Primary Care and the nurse practitioner role in Thailand. Contemporary Nurse, 26(1), 89-93.

Junprasert, S, et al. (2020). Responsibility roles of nurses in driving primary health care system. Nonthaburi: Thailand Nursing and Midwifery Council, Thailand.

Li-Hui H., Shu-Chen S. Kevin K, Shu-Ying S Sheng-Shiung H, Ya-Jung W, Shiow-Luan T, (2021). The impact of Organizational Support on Practice Outcomes in Nurse Practitioners in Taiwan. Journal Nurse Research, 29(3), 148-158.

Lusine P., & Jianfang L. (2016). Nurse Practitioner Autonomy and Relationships with Leaderships Affect Teamwork in Primary Care Practice: a Cross-Sectional Survey. Journal of General Internal Medicine ,31(1),771-777.

Van der Biezen et al. (2017). Collaboration in team with nurse practitioners and general practitioners during out-of-hours and implications for patient care; a qualitative study. BMC Health Service Research, (2017),17-589

Ministry of Public Health, 2017). Regional Health Profile 2012-2017. From http://bps.moph.go.th/new_bps/monitoringandevaluation [In Thai].

National Health Security Office. (2017). Guideline for Management National Health Security Fund Nonthaburi, Thailand. National Health Security Office.

National Health Security Office. (2017). Assessment Criteria on PCU Registration. From

www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/E/134/15.pdf. [ In Thai].

Primary Health Care Division. (2014). The four-Decade of Primary Health Development in Thailand 1978-2014. Ministry of Public Health. Nonthaburi.

Ruth,A.,Geoff,W.,KamalR,M.,Stephanie, T.,Anne-Marie, B.,Nia,R.,Sophie Park.(2020). Delegating home visiting in general practice: a realistic review on the impact on GP workload and patient care. British Journal General Practitioner, 70(695), 412-420.

Suriya, F.,Supara, H.,Seuptrakun, T. (2017). Relationships between Selected Factors to Nurse Practitioner’s Role in Primary Medical Care Performance Trained at Boromarajonani College of Nursing, Chonburi. HCU Journal, 21(41), 65-77. [In Thai].

Thailand Nursing and Midwifery Council. (2020). Announcement of the Nursing Council on Standards of nursing and midwifery service at the primary care level in 2005. From: www.tnmc.or.th/images/user [In Thai].

Terathongkum, S., Hanucharurnkul, S., & Suvisit, N. (2009). Perceived Benefits, Problem Situations, And Suggestions of Nurse Practitioners In Thailand. Thai Journal of Nursing Council, 24(2), 39-49. [In Thai].

The National Organization of Nurse Practitioner Faculties. (2015). Nurse Practitioner Core Competencies Content. From: http://c.ymcdn.com.

Wall, Sarah (2015). Focused Ethnography: A Methodological Adaptation for Social Research in Emerging Contexts. Qualitative Social Research, 16(1), From http://nbn-resolving.de/urn:nbn:de:0114-fqs150111.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-02