ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • พูนศิริ ฤทธิรอน กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก
  • ดวงหทัย จันทร์เชื้อ กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก
  • พัสตราภรณ์ แย้มเม่น กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก
  • นิชนันท์ อินสา กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก
  • อมรรัตน์ เนียมสวรรค์ กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก
  • รัชดาวรรณ บุญมีจิว กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก
  • แววตา ระโส กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก

คำสำคัญ:

พัฒนาการเด็กปฐมวัย, การเจริญเติบโตเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของมารดาและการเลี้ยงดู สถานการณ์และปัจจัยคัดสรร ที่มีอิทธิพลต่อการพยากรณ์โอกาสพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ในเขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดา มารดา หรือผู้เลี้ยงดูเด็กต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือน 16 วัน ถึงอายุ 5 ปี 11 เดือน 29 วัน จำนวน 908 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก และการตรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัย Denver II วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการพยากรณ์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า มารดาระยะตั้งครรภ์มีอายุ 20 – 35 ปี ร้อยละ 72.9 ระยะตั้งครรภ์มีภาวะแทรกซ้อน ร้อยละ 3.9 ได้รับยาบำรุงชนิด Obimin/Triferdine/Nataral ร้อยละ 84.0 การเข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ ในคลินิกฝากครรภ์ ร้อยละ 53.1 คลินิกส่งเสริมสุขภาพเด็กดี ร้อยละ 51.0 คลอดปกติ ร้อยละ 49.2 น้ำหนักทารกแรกคลอด > 2,500 กรัม ร้อยละ 91.5 เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการรวมสมวัย ร้อยละ 79.5 พัฒนาการสมวัยด้านสังคมและการช่วยเหลือตนเอง ร้อยละ 94.0 ด้านภาษา ร้อยละ 88.0 ด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ร้อยละ 92.6 และด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ร้อยละ 92.8 รับยาวิตามินเสริมธาตุเหล็ก ร้อยละ 57.2 น้ำหนักตามเกณฑ์ ร้อยละ 80.3 สูงตามเกณฑ์ ร้อยละ 84.2 และสมส่วน ร้อยละ 79.6 ปัจจัยคัดสรรที่มีอิทธิพลต่อการพยากรณ์โอกาสพัฒนาการสมวัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนช่วงตั้งครรภ์ การคลอด น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ สภาพแวดล้อม การเล่านิทาน และการดูทีวีของเด็ก ดังนั้น การส่งเสริมพัฒนาการ และภาวะโภชนาการที่เหมาะสม ควรมีการให้ความรอบรู้ด้านสุขภาพตั้งแต่ระยะเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์โดยมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม

References

นิชรา เรืองดารกานนท์. พัฒนาการและเชาว์ปัญญาของเด็กไทย. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง,2551. พิมพ์ ครั้งที่ 1.

จินตนา พัฒนพงศ์ธร และคณะ. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ.2560. นนทบุรี: กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย;2561.

วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2557.

พนิต โล่เสถียรกิจ. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยในปี พ.ศ.2557. วิชาการสาธารณสุข 2560;26:1-10

ธันยพร เมฆรุ่งจรัส และอดิศร์สุดา เฟื่องฟู. ปัจจัยที่กระทบต่อพัฒนาการเด็ก. ในสุรีลักษณ์ สุจริตพงศ์และคณะ, บรรณาธิการ ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลิฟวิ่งจำกัด 2561;44.

นิตยา คชภักดี. ขั้นตอนการพัฒนาของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิ-5 ปี. สำนักคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว;2543.

ปราณี เมืองน้อย, บรรณาธิการ. คู่มือสำหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอนวัยเด็กเล็ก 3-6 ปี. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.

รัตโนทัย พลับรู้การ และคณะ. วิเคราะห์สุขภาวะเด็กและวัยรุ่น อายุ 2-5 ปี. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์;2552.

Kobyakov. Diet, parental behavior and preschool can boost children’s IQ. Association for Psychological Science 2013;25.

พนิต โล่เสถียรกิจ. เด็กพูดช้า. กุมารเวชศาสตร์ 2550; 26:240-46.

นิตยา คชภักดี และอรพินท์ เลิศอวัสดาตระกูล. คู่มือการฝึกอบรมการทดสอบพัฒนาการเด็กปฐมวัย. ฉบับแก้ไขปรับปรุง ครั้งที่ 4. นครปฐม: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว;2556.

สำนักนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2560. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

อิสราภา ชื่นสุวรรณ. แนวทางส่งเสริมพัฒนาการเด็กในสังคมไทย (11-21 ปี) Guideline in Child Health Supervision. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2557.

เยาวรัตน์ รัตน์นันต์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย. ศูนย์อนามัยที่ 9 ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2561;12(28).

บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย: ศูนย์อนามัยที่ 5. เกื้อการุณย์ 2563;27:59-70.

นิรมัย คุ้มรักษา. การศึกษาสภาวการณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก. สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2557;22:76-83.

สุพัตรา บุญเจียม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับเด็กปฐมวัยคุณภาพ เขตสุขภาพที่ 7. ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น 2562; 11:25-38.

สมสิญจน์ เพ็ชรยิ้ม, บูรยา พัฒนจินดากุล. การตั้งครรภ์เกินกำหนด. เวชบันทึกศิริราช 2551;1:165-170.

สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน, จิตตินันท์ เดชะคุปต์. หน่วยที่ 14 ปัญหาพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยและแนวทางแก้ไข. พิมพ์ครั้งที่ 2; 2557;1-35.

วินัดดา ปิยะศิลป์. บทที่ 1 แนวทางส่งเสริมครอบครัวคุณภาพ.ใน: พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์, วินัดดา ปิยะศิลป์, วันดี นิงสานนท์, ประสบศรี อึ้งถาวร, บรรณาธิการ. Guidgline in Child Health Supervision. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย; 2557;11-20.

ฐิติมา ชูใหม่. การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย. หัวหินสุขใจไกลกังวล 2559; 1:18-33.

Wandera M, Åstrøm AN, Okullo I & Tumwine JK. (2012). Determinants of periodontal health in pregnant women and association with infants’ anthropometric status: a prospective cohort study from Eastern Uganda. BMC pregnancy and childbirth. 2012;12:90.

อาริสรา ทองเหม, จินตนา พัฒนพงศ์ธร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย : กรณีพื้นที่โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ในพื้นที่ชายแดนอันเนื่องมาจากพระราชดำริเขตกองทัพภาคที่ 3 [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 ก.ค.2564]. เข้าถึงได้จาก : https://hp.anamai.moph.go.th/web-upload/4xceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/202106/m_news/35025/204972/file_download/41fe3e77eb3ae4c2cafc13c52979daf6.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-15