ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ในผู้ป่วยวัณโรคปอด

ผู้แต่ง

  • ประดิษฐ์ ปฐวีศรีสุธา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : การรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง / ความร่วมมือในการรับประทานยาต้านวัณโรค/ โปรแกรมการให้ความรู้และการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรงโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยวัณโรคปอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดที่มารับบริการที่ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มควบคุม 32 คน โดยที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ซึ่งประยุกต์จากกรอบแนวคิด IBM Model ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและได้รับคู่มือสำหรับผู้ป่วยวัณโรค ระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent t-test

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเป็นเพศชาย ร้อยละ 80.49 และ 68.8 ตามลำดับ ด้านอายุพบว่า กลุ่มทดลอง อายุเฉลี่ย 41.93 ปี กลุ่มควบคุมอายุเฉลี่ย 42.13ปี (SD = 12.65) คะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาต้านวัณโรคในสัปดาห์ที่ 6 เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนความร่วมมือในการรับประทานยาต้านวัณโรคในสัปดาห์ที่ 1 (p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการให้ความรู้และการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ที่ใช้เวลานาน 6 สัปดาห์สามารถทำให้ความร่วมมือในการรับประทานยาต้านวัณโรคเพิ่มขึ้น

          ข้อเสนอแนะควรใช้โปรแกรมการให้ความรู้และการรักษาภายใต้การสังเกตโดยตรง โดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ในการให้ความรู้เรื่องโรคและการรักษาโดยมีการให้ข้อมูลป้อนกลับและติดต่อสื่อสารแบบสองทางเพื่อให้มีการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยวัณโรค

References

Amuha, M.G., Kutyabami P., Kitutu, F.E., OdoiAdome, R., Kalyango, J.N. (2009). Non-adherence

to anti-TB drugs among TB/HIV co-infected patients in Mbarara Hospital Uganda: Prevalence and associated factors. African Health Sciences. 9(2), 8-15.

Bureau of tuberculosis. National. (2018). Tuberculosis Control Programme Guideline, Thailand,

Bangkok: Department of ministry of public health.

Ibrahim, L.M., et al. (2014). Factors associated with interruption of treatment among pulmonary

tuberculosis patients in Plateau State, Nigeria 2011. Pan African Medical Journal.

(1): 1-8.

Klein, M. ,Mogles, N. &VanWissen, A. (2014). Intelligentmobile support for therapy adherence

and behavior change. Journal of biomedical informatics. 14(51), 137-51.

Meichenbaum, D., &Turk, D.C. (2015). Treatment adherence: terminology, incidence and

conceptualization. In: Meichenbaum M, Turk DC, editors. Facilitating treatment adherence. New York: Plenum Press. 19-39.

Mukarsa, S., Sumpowthong, K. (2017). Effects of a health promotion program by applying the

theory of empowerment in new smear positive pulmonary tuberculosis patients. Journal of Medicine and Health Sciences. 24(1), 13-27. (In Thai).

Munro, S., Lewin, S., Swart, T., &Volmink, J. (2007). A review of health behaviour theories:

how useful are these for developing interventions to promote long- term medication adherence for TB and HIV/ AIDS? BMC Public Health. 4, 1-16.

Seesanea, S., Wattanakitkrileart, D., Charoenkitkarn, V., Dumavibhat, C., Vanijja, V. (2017). The

effectiveness of mobile application on medication adherence in patients with acute coronary syndromeafterhospitalization. NursingJournal of The Ministry of Public Health.1, 61-74. (in Thai).

Tesfahuneygn, G., Medhin, G.,Legesse, M. (2015). Adherence to Anti-tuberculosis treatment

and treatment outcomes among tuberculosis patients in Alamata District, northeast Ethiopia. BMC research notes. 8(1), 1-11.

World Health Organization. (2015). Global tuberculosis report 2015. 20th ed. Geneva: WHO

Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01